บทคัดย่องานวิจัย

ผลของการเคลือบต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์หลังเคลือบและหลังการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษ

ปิยะนุช เทียงดีฤทธิ์ และบุญมี ศิริ

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 40 ฉบับที่ 3(พิเศษ). หน้า 327-330. 2552.

2552

บทคัดย่อ

ผลของการเคลือบต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์หลังเคลือบและหลังการเก็บรักษาของเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานพิเศษ

                การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของสารเคลือบเมล็ดที่มีส่วนผสมของสารเคมีต่างชนิดต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์หลักการเคลือบ และการเก็บรักษา โดยเคลือบเมล็ดด้วยเครื่องเคลือบรุ่น SKK 08 ที่โรงงานปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำการเคลือบเมล็ด 13 วิธีการ คือ 1) เมล็ดไม่เคลือบสาร 2) เมล็ดคลุกด้วย metalaxyl3) เมล็ดเคลือบสี 4) เมล็ดเคลือบ polymer5) เมล็ดเคลือบ polymer ผสม metalaxyl 3.5 cc 6) เมล็ดเคลือบ polymer ผสม metalaxyl 5.0cc 7) เมล็ดเคลือบ polymerผสม metalaxyl 7.0  cc 8) เมล็ดเคลือบ polymer ผสม ethaboxam 0.025% 9) เมล็ดเคลือบ polymer ผสม ethaboxam 0.5% 10) เมล็ดเคลือบ polymer ผสม ethaboxam 0.7%11) เมล็ดเคลือบ polymer ผสม alette 0.25% 12) เมล็ดเคลือบ polymer ผสม aliette 0.5% และ 13) เมล็ดเคลือบ polymer ผสม aliette 0.7%หลังจากเคลือบเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคลือบกรรมวิธีต่างๆ พบว่า สารเคลือบหลายกรรมวิธีทำให้ความงอกของเมล็ดพันธุ์ที่เพาะในห้องปฏิบัติการและในแปลงปลูก ไม่มีความแตกต่างในทางสถิติกับเมล็ดที่ไม่เคลือบสาร สำหรับความเร็วในการงอกของเมล็ดพันธุ์ พบว่า สารเคลือบทุกกรรมวิธีทำให้ความเร็วในการงอกมีแนวโน้มต่ำกว่าเมล็ดที่ไม่เคลือบสาร และเมื่อทำการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์เป็นระยะเวลา 8 เดือน ในห้องที่มีการควบคุมสภาพแวดล้อม พบว่า ทุกกรรมวิธีการเคลือบทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์ทั้งที่เพาะในห้องปฏิบัติการ และในสภาพไร่ยังคงสูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ และไม่มีความแตกต่างทางสถิติกับเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ผ่านการเคลือบ