บทคัดย่องานวิจัย

ผลของแคลเซียมและการฉายรังสีแกมมาต่อสรีรวิทยาและคุณภาพของดอกกล้วยไม้สกุลหวาย

สุนีย์จันทรศรี

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี.155หน้า. 2547.

2547

บทคัดย่อ

ผลของแคลเซียมและการฉายรังสีแกมมาต่อสรีรวิทยาและคุณภาพของดอกกล้วยไม้สกุลหวาย

ผลของการศึกษาลักษณะทางสรีรวิทยาของดอกกล้วยไม้หวายพันธุ์ ‘Sonia No.17’ และ ‘Walter oumae 4 N’ ภายหลังการเก็บเกี่ยว  พบว่าดอกกล้วยไม้หวายพันธุ์ ‘Sonia No.17’มีอายุการปักแจกันนานกว่าพันธุ์ ‘Walter oumae 4 N’โดยพบว่าพันธุ์ ‘Sonia No.17’มีอัตราการหายใจ การผลิตเอทธิลีน และกิจกรรมของเอนไซม์ ACC oxidase ต่ำกว่าพันธุ์ ‘Walter oumae 4 N’อย่างไรก็ตามปัญหาที่สำคัญของการส่งออกดอกกล้วยไม้ คือ เพลี้ยไฟ ซึ่งการควบคุมเพลี้ยไฟโดยการฉายรังสีในดอกกล้วยไม้หวายพันธุ์ ‘Sonia No.17’มีผลทำให้เกิดการหลุดร่วงของดอกอย่างรวดเร็ว  ดังนั้นการทดลองนี้จึงไดศึกษาถึงผลของการพ่นแคลเซียมออกไซด์ความเข้มข้น 0 0.5 1.0 และ 1.5 mM ที่ต้นและช่อดอกกล้วยไม้หายพันธุ์ ‘Sonia No.17’และ ‘Walter oumae 4 N’ทุกสัปดาห์ ติดต่อกันเป็เวลา 6 ครั้ง  พบว่าดอกกล้วยไม้หวายทั้ง 2 พันธุ์  ที่พ่นด้วยแคลเซียมออกไซด์ความเข้มข้น 1.5 mM มีอัตราการการหายใจและการผลิตเอทธิลีนต่ำหว่าดอกที่พ่นด้วยน้ำประปา  แต่พบว่าการ่ะนด้วยแคลเซียมคลอไรดืความเข้มข้น 1.5 mM มีผลทำให้ดอกกล้วยไม้มีอัตราการดูดน้ำและน้ำหนักสดสูงขึ้น  จากการศึกษาการพ่นด้วยสารละลายแคลเซียมออกไซด์และแคลเซียมคลอไรด์ที่คามเข้มข้น 1.5 mM  ร่วมกับการใช้น้ำยาปักแจกัน  ซึ่งประกอบด้วย  น้ำตาลซูโครสร้อยละ 4 ไฮดรอกซีควิโนลินซัลเฟพ 220 มิลลิกรัมต่อลิตร  และ ซิลเวอร์ไนเตรต 30 มิลลิกรัมต่อลิตร  ก่อนการฉายรังสีแกมม่าของดอกกล้วยไม้ทั้ง 2 พันธุ์  พบว่าดอกกล้วยไม้ที่พ่นด้วยแคลเซียมออกไซด์  สามารถลดการหลุดร่วงของดอกตูมและดอกบานในกล้วยไม้ที่ฉายรังสีได้ 1-2 วัน ในขณะที่การพ่นด้วยสารลลายแคลเวียมคลอไรด์ไม่สามารถชะลอการหลุดร่วงของดอก กล้วยไม้เมื่อเปรียบเทียบกับดอกกล้วยไม้ที่พ่นด้วยน้ำประปาแล้วปักในน้ำ กลั่น  แต่การปักดอกกล้วยไม้ในน้ำยาปักแจกันภายหลังจากการฉายรังสีที่อุณหภูมิ 25 oC  สามารถช่วยลดการหลุดร่วงของดอก  การผลิตเอทธิลีนและยืดอายุการปักแจกันของดอกกล้วยไม้ได้นานกว่าดอกที่ปักในน้ำกลั่น 2-3 วัน