บทคัดย่องานวิจัย

การทำนายค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์และปริมาณกรดทั้ง หมดของชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์เพชรสามพรานและทูลเกล้าด้วยเทคนิคNear Infrared Spectroscopy

วลัยพร เตียประสิทธิ์

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.151 หน้า.2548.

2548

บทคัดย่อ

การทำนายค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์และปริมาณกรดทั้ง หมดของชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์เพชรสามพรานและทูลเกล้าด้วยเทคนิคNear Infrared Spectroscopy

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ก) ความเป็นไปได้ในการตรวจสอบปริมาณของแข็งทีละลายได้ ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ และปริมาณกรดทั้งหมดของชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์ เพชรสามพราน และทูลเกล้าโดยเทคนิค Near Infrared Spectroscopy  และ ข) เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสมการ Calibration ในด้านเวลาของการเก็บรักษา และพันธุ์ที่เพาะปลูก

ตัวอย่างที่ใช้คือชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์ ทูลเกล้า และเพชรสามพราน สแกนตัวอย่างด้วยเครื่อง Near Infrared Spectrophotometer โดยใช้ช่วงความยาวคลื่น 1100-2500 นาโนเมตร แล้วหาปริมาณของแข็งที่ละลายได้ ปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ และปริมาณกรด วิเคราะห์ผลการทดลองทางสถิติโดยวิธี Multiple Linear Regression (MLR) และPartial Least Square Regression (PLSR)

ผลที่ได้พบว่า เทคนิค Near Infrared Spectroscopy สามารถทำนายค่าปริมาณของแข็งที่ละลายได้ ในชมพู่พันธุ์ทับทิมจันทร์ ทูลเกล้า และเพชรสามพราน ได้แม่นยำมาก ส่วนปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ และปริมาณกรด ทำนายค่าได้ไม่แม่นยำ การเลือกช่วงความยาวคลื่น แล้วสร้างสมการโดยวิธี PLSR ช่วยให้ได้สมการที่ทำนายค่าได้แม่นยำมากขึ้น พันธุ์ เวลาที่ใช้ในการเก็บรักษา และรูปทรงของตัวอย่างมีผลต่อความแม่นยำในการทำนายค่าของสมการ