การออกแบบและพัฒนาเครื่องเปิดผลมะพร้าวอ่อน
ปราโมทย์ กุศล
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต(วิศวกรรมเกษตร)คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 92 หน้า.2548.
2548
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เพื่อที่จะออกแบบและพัฒนาเครื่องเปิดผลมะพร้าวอ่อน วิธีการศึกษาประกอบด้วยการหาสมบัติทางกายภาพของผลมะพร้าวอ่อน การออกแบบสร้าง ทดสอบ ประเมินผลการทำงานของเครื่องเปิดผลมะพร้าวอ่อน สมบัติทางกายภาพของผลมะพร้าวอ่อนได้แก่ ขนาดและรูปร่าง ผลมะพร้าวอ่อนขนาดเล็ก กลางและใหญ่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง @117.8, 126.4, 138.7 มม. รูปทรงห้าเหลี่ยม ความแข็งโดยแรงกดแตกของกะลามะพร้าวหนึ่งชั้น ชั้นครึ่งและสองชั้น @111, 244 และ 749 นิวตัน และความชื้นของเปลือกชั้นในของมะพร้าวหนึ่งชั้น ชั้นครึ่งและสองชั้น @88.8, 87.4, 82.6 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ เครื่องต้นแบบประกอบด้วย 1. ชุดจับยึดผลมะพร้าวอ่อน ได้แก่ชุดจับยึดส่วนล่างและชุดจับยึดด้านบน 2. ระบบส่งกำลัง เป็นมอเตอร์ขนาด 25 วัตต์ ไฟกระแสสลับ 220 โวลท์ 50 เฮิร์ท ความเร็วมอเตอร์ผ่านชุดเกียร์ทด 80 รอบ/นาที 3. ชุดปรับระดับความสูง ได้แก่ ชุดส่งถ่ายกำลังจากแขนโยกไปยังลูกเบี้ยวพร้อมระบบควบคุมมอเตอร์ที่ปลายคันโยก 4. ชุดป้อนใบมีดแบบสกรู 3 ปากมุมของใบมีดกระทำกับแนวระดับและกระทำกับเส้นสัมผัสรัศมีวงกลม 50, 50 องศา ใบมีดเคลื่อนที่โดยการหมุนด้ามชุดป้อน การทดสอบประกอบด้วย ก) การทดสอบหาสมรรถนะของเครื่องเปิดผลมะพร้าวอ่อนระดับห้องปฏิบัติการ ปรากฏว่าใช้เวลาในการเปิดผล @30 วินาที/ผล ข) เปอร์เซ็นต์น้ำหกมี @0.2%ค) น้ำหนักเศษขุยมี @0.4 กรัม/ผล ง) ความกว้างของช่องเปิดผลมี @57 มม. ข) การปรับปรุงและแก้ไขเครื่อง และทำการทดสอบซ้ำ ปรากฏว่าใช้เวลาเปิดผลน้อยลง @20 วินาที/ผล เปอร์เซ็นต์น้ำหก น้ำหนักขุย และความกว้างของช่องเปิดมีค่าใกล้เคียงกับการทดสอบครั้งก่อน ตัวเครื่องหนัก 17 กก. ค) การทดสอบเครื่องต้นแบบแก้ไขตามคำแนะนำของโรงงานจักกรวาลคาร์เซ็นเตอร์และทดสอบซ้ำปรากฏว่า ใช้เวลาเปิด @22วินาที/ผล เปอร์เซ็นต์น้ำหก น้ำหนักขุย และความกว้างของช่องเปิดยังอยู่ในค่าใกล้เคียงกับเครื่องต้นแบบในห้องปฏิบัติการ น้ำหนักเครื่องลดลงไปที่ 15.5 กก. เสียงของเครื่องเปิดดังอยู่ระหว่าง 72.8-74.4 dBที่ระยะห่างจากเครื่อง 1 ม. การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ระบุว่า ค่าใช้จ่ายในการทำงานเท่ากับ 0.19 บาทต่อผล สำหรับการทำงาน 250 วันต่อปี