โรคหลังการเก็บเกี่ยวของผลลองกองและการควบคุมโรคก่อนเก็บเกี่ยวด้วยสารเคมีและชีวภัณฑ์ควบคุมเชื้อรา
สมใจ แก้วสร
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 95 หน้า.2548.
2548
บทคัดย่อ
การสำรวจเชื้อราที่ติดมากับผลลองกองหลังการเก็บเกี่ยวในเขตพื้นที่จังหวัดจันทบุรีพบเชื้อรา 11 ชนิด ได้แก่ Phornopsis sp., Lasiodiplodia theobromae, Pestalotiopsis sp.,Colletotrichum gloeosporioides,Cylindrocladium sp., Nigrosprora sp.,Curvularia sp., Absidia sp., Gliocladium sp. และ Aspergillus sp.คือ 42.1, 19.6, 15.5, 3.2, 2.8, 2.5, 1.2, 0.4, 0.4, 0.4 และ 0.4 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
เมื่อนำเชื้อราที่แยกได้มาปลูกเชื้อด้วยวิธีการทำแผลพบว่า L. theobromaeสามารถทำให้ผลลองกอง เงาะ และมังคุดเกิดโรค 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ความรุนแรงของโรคต่างกัน โดยเกิดโรครุนแรงที่สุดบนผลลองกอง ส่วนเชื้อรา Pestalotiopsis sp.,Cylindrocladium sp., C. gloeosporioidesและ Phomopsis sp.ไม่ก่อให้เกิดโรคบนผลมังคุด ส่วนการปลูกเลื้อโดยไม่ทำแผลพบว่า C. gloeosporioides, L. theobromaeและ Cylindrocladium sp. ก่อให้เกิดโรคบนผลไม้ทั้ง 3 ชนิด อาการของโรครุนแรงที่สุดบนผลลองกอง ส่วนเชื้อรา Pestalotiopsis sp. และ Phomopsis sp.เกิดโรคได้ดีบนผลเงาะ และผลลองกอง แต่ไม่เกิดโรคบนผลมังคุด
การศึกษาประสิทธิภาพของสารต่าง ๆ 8 ชนิด ได้แก่ azoxystrobin, carbendazim, myclobultanil+mancozeb, iprodione และ thiabendazole(ความเข้มข้น 250, 500, 750 และ 1000 ppm) Trichoderma harzianum และBacillus subtillis (ความเข้มข้น 106, 108 และ 109 cfu/ml) และ 1-napthyl acetic acid (NAA) ความเข้มข้น 5, 10, 15 และ 20 ppm ในการยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราทั้ง 5 ชนิด พบว่า carbendazim และ iprodione มีประสิทธิภาพดีที่สุด ส่วนประสิทธิภาพของสาร azoxystrobin, carbendazim, myclobultanil + mancozeb, iprodione, thiabendazole และ NAA ในการยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อราพบว่า carbendazim และ iprodione มีประสิทธิภาพดีที่สุด
ประสิทธิภาพของสารในการลดการร่วงและการเน่าของผลเนื่องจากเชื้อราชนิดต่างๆ ในสภาพสวนพบว่าสารที่สามารถลดการร่วงและการเน่าได้ดีที่สุด คือ carbendazim (1000 ppm) + NAA (20ppm) เมื่อนำผลลองกองที่ผ่านการฉีดพ่นสาร carbendazim และ irodione มาหาปริมาณสารพิษตกค้างด้วยวิธี bioassay ไม่พบสารพิษตกค้างในเปลือกและเนื้อผล