บทบาทของ cell wall hydrolases และการแสดงออกของยีนต่อการร่วงองดอกตูมกล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium)ที่ตอบสนองต่อเอทิลีน
กนกพร บุญญะอติชาติ
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 105 หน้า. 2550.
2550
บทคัดย่อ
ช่อดอกกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์มีสทีน (‘Miss Teen’) วิลลี่ (‘Willie’) วรรณา (‘Wanna’) ลีน่า (‘Lina’) เยลโลริเวอร์ (‘Yellow River’) ปอมปาดัวร์ (‘Pompadour’) และ โซเนีย (‘Sonia’) ได้รับเอทีลีนที่ระดับความเข้มข้น 0.4 µL L-1เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 25°Cทำให้มีการร่วงของดอกตูมและดอกบานภายในช่อดอกแตกต่างกัน ดอกตูมของกล้วยไม้พันธุ์มีสทีนมีความไวต่อเอทิลีนมากกกว่าดอกตูมของกล้วยไม้พันธุ์เยลโลริเวอร์ เอทิลีนจากภายนอกกระตุ้นให้เกิดการร่วงเฉพาะในดอกตูมของกล้วยไม้พันธุ์เยลโลริเวอร์ เอทิลีนจากภายนอกกระตุ้นให้เกิดการร่วงเฉพาะในดอกตูมของกล้วยไม้พันธุ์มีสทีน ขณะที่กล้วยไม้พันธุ์เยลโลริเวอร์เกิดการร่วงทั้งดอกตูมและดอกบานเมื่อได้รับเอทิลีน สาร 1-Methylcyclopropene (1 -MCP)ยับยั้งการร่วงของดอกตูมกล้วยไม้พันธุ์มีสทีนได้อย่างสมบูรณ์ เอทิลีนกระตุ้นกิจกรรมเอนไซม์ b-1,4-Glucanase (cellulase)และ polygalacturonase (PG)ให้เพิ่มมากขึ้นในบริเวณ abscission zone (AZ) ขณะที่ 1 –MCPลดกิจกรรมของเอนม์ดังกล่าวทั้งในเนื้อเยื่อบริเวณ AZของทั้งดอกตูมและดกบานของกล้วยไม้พันธุ์มีสทีน ส่วนกิจกรรมเอนไซม์ pectin methylesterase (PME)ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในดอกตูมและดอกบาน การให้เอทิลีนกับช่อดอกกล้วยไม้พันธุ์เยลโลริเวอร์ไม่มีผลต่อการเพิ่มกิจกรรมเอนไซม์ b-1,4-GlucanasePGและ PMEในเนื้อเยื่อ AZ ของทั้งดอกตูมและดอกบาน การแสดงออกของยีน b-1,4-glucanase (Den-Cel)ในบริเวณ AZ ของดอกตูมในกล้วยไม้ทั้งสองพันธุ์ พบว่ามีการสะสมปริมาณ mRNA ของยีน (Den-Cel) ทั้งในเนื้อเยื่อ AZ ของดอกตูมทั้งที่ได้รับเอทิลีนและไม่ได้รับเอทิลีน แต่เนื้อเยื่อ AZ ที่ได้รับเอทิลีนมีการแสดงออกของยีน Den-Cel มากกว่าเนื้อเยื่อ AZ ที่ไม่ได้รับเอทิลีน นอกจากนี้เนื้อเยื่อ AZ ดอกตูมกล้วยไม้พันธุ์มีสทีนที่ได้รับเอทิลีนมีการแสดงออกของยีน Den-Cel มากกว่าดอกตูมกล้วยไม้พันธุ์เยลโลริเวอร์ที่ได้รับเอทิลีน