ประสิทธิภาพของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากสมุนไพรไทย 13 ชนิด ในการยับยั้งเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioidesสาเหตุโรค anthracnose ของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้t
ประคอบ เย็นจิตต์, มนตรี อิสรไกรศีล, วาริน อินทนา, ก้าน จันทร์พรหมมา และทักษิณ สุวรรณโน
กำหนดการประชุมและบทคัดย่อ. การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 7, 26-30 พฤษภาคม 2551. ณ โรงแรม อมรินทร์ลากูน จ. พิษณุโลก. 391 หน้า
2551
บทคัดย่อ
สมุนไพรไทย จำนวน 13 ชนิด (มะกูด เหงือกปลาหมอ โพธิ์ทะเล เทียนบ้าน หูปลาช่อน ชุมเห็ดเทศ สะบ้ามอญ มะม่วงหิมพานต์ เข็ม หมาก มังคุด ดาหลา และเฟื่องฟ้า) ถูกสกัดสารด้วยตัวทำลาย 3 ชนิด (hexane ethyl acetate และ methanol)และทดสอบการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioidesสายพันธุ์ NST-03 ที่เป็นสาเหตุโรค anthracnose ของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ โดยวิธี disc diffusion พบว่าสารสกัดหยาบทั้ง 3 ตัวทำละลายของเปลือกหมาก (Areca catechu L.) ที่ความเข้มข้น 1,000 µg/mlแสดงการยับยั้งสูงสุด เท่ากับ 31.4 31.1 และ 31.1% ตามลำดับ เมื่อสารสกัดหยาบของเปลือกหมากถูกแยกส่วนด้วย quick column และทดสอบการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา C. gloeosporioides พบว่าส่วนที่ 9 ของสารสกัดหยาบ hexane ส่วนที่ 7 ของสารสกัดหยาบ ethyl acetate และส่วนที่ 5 ของสารสกัดหยาบ methanol แสดงการยับยั้งสูงที่ความเข้มข้น 40 µg/mlเท่ากับ 25.9 25.1 และ 25.0%ตามลำดับ ภายหลังการทำส่วนสารสกัดหยาบที่แสดงการยับยั้ง C. gloeosporioidesสูงให้บริสุทธิ์ด้วย column chromatography พบสาร 6 ชนิด (AC1-AC6) การศึกษาสารบริสุทธิ์ด้วย 1H และ 13C NMR เปิดเผยว่า สาร AC1-AC3 เป็น fatty acids และ AC4-AC6 เป็น triterpenes