บทคัดย่องานวิจัย

การสร้างแบบจำลอง (Modeling)เพื่อบ่งชี้การบรรจุและอายุการเก็บรักษาในสภาพบรรยากาศดัดแปลง

วรภัทร ลัคนทินวงศ์

กำหนดการประชุมและบทคัดย่อ. การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 7, 26-30 พฤษภาคม 2551. ณ โรงแรม อมรินทร์ลากูน จ. พิษณุโลก. 391 หน้า

2551

บทคัดย่อ

การสร้างแบบจำลอง (Modeling)เพื่อบ่งชี้การบรรจุและอายุการเก็บรักษาในสภาพบรรยากาศดัดแปลง

                การพัฒนาโมเดลทางคณิตศาสตร์เพื่อทำนายการเปลี่ยนแปลงก๊าซออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ภายในภาชนะที่มีการบรรจุแบบดัดแปลงบรรยากาศ (modified atmosphere packaging)เพื่อให้เกิดสภาวะสมดุล equilibrium modified atmosphere) ของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในภาชนะ จากปัจจัยการใช้ออกซิเจนของผลิตผล (Rr(02))และการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ในภาชนะ (Rr(C02))อัตราการซึมผ่านของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านฟิล์ม (P(02) , P(02))น้ำหนักของผลิตผล (W)ที่บรรจุอยู่ภายในและ respiration quotient (RQ:q) ของผลิตผล โดยทำการศึกษากับผลิตผลสดตัดแต่งพร้อมบริโภค ได้แก่ ผักกาด (lettuce) ขนาดบรรจุ 300 ±10 กรัมในถึงพลาสติกชนิด polyethylene (PE)หนา 2.45×10-6 เมตร มีพื้นที่ 0.484 ตารางเมตร มีอัตราการซึมผ่านของออกซิเจนประมาณ 2,567 cc/m2/day, atm. อัตราการซึมผ่านของคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 8,100 cc/m2/day, atm.ลักษณะภาชนะบรรจุเป็นแบบ flexible package ใช้สับปะรดพันธุ์ตราดสีทอง และมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ขนาดบรรจุ 350±10 กรัม ในถาดพลาสติก polyethylene tereptherate (PET) ขนาดปริมาตร 1 ลิตร ปิดผนึกด้วยฟิล์ม P-PlusTMหนา 60 µm มีค่าการซึมผ่านของออกซิเจน (OTR)ประมาณ 22,500 cc/m2/day, atm.ลักษณะภาชนะบรรจุแบบ rigid packagesเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส พบว่าโมเดลทางคณิตศาสตร์สามารถทำนายการเปลี่ยนแปลงของก๊าซออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ในภาชนะบรรจุของผักกาดและสับปะรดได้ดี ส่วนมะม่วงโมเดลสามารถทำนายการเปลี่ยนแปลงออกซิเจนในภาชนะได้ดี ขณะที่การเปลี่ยนแปลงของคาร์บอนไดออกไซด์ค่อนข้างใกล้เคียงกับการทดลอง