บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาผลของการใช้สารละลายแคลเซียม-โบรอน ที่มีผลต่อการลดการผิดปกติทางสรีรวิทยาและเพิ่มคุณภาพของผลมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง

ศิวพร มินรินทร์ และ พีระศักดิ์ ฉายประสาท

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41 : 1 (พิเศษ) : 51-54 (2553)

2553

บทคัดย่อ

การศึกษาผลของการใช้สารละลายแคลเซียม-โบรอน ที่มีผลต่อการลดการผิดปกติทางสรีรวิทยาและเพิ่มคุณภาพของผลมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง

การศึกษาผลของการใช้สารละลายแคลเซียม-โบรอน ที่มีผลต่อการเจริญ และคุณภาพของผลมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ทดลองโดยทำการฉีดพ่นสารละลายแคลเซียม-โบรอนให้กับต้นมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง โดยทำการทดลองแบบ randomized complete block design (RCBD) จัดสิ่งทดลองแบบ factorial ประกอบด้วย 2ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยที่ 1คือสารละลายแคลเซียม 22.5 %-โบรอน 0.75 % (200 cc/200ลิตร) ความเข้มข้น 1 2 3และ 4เท่า ฉีดพ่นทุกเดือน เดือนละ 1ครั้ง เป็นเวลา 2เดือน โดยฉีดพ่นในวันที่ 60และ 90วัน หลังดอกบานเปรียบเทียบกับต้นที่ไม่ได้ฉีดพ่นสารละลายแคลเซียม-โบรอน (Control) ปัจจัยที่ 2อุณหภูมิในการเก็บรักษา คือ อุณหภูมิห้อง(27องศาเซลเซียส) และอุณหภูมิ 15องศาเซลเซียสทำการเก็บเกี่ยวผลมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองเมื่อความบริบูรณ์ร้อยละ 80 (110วัน หลังดอกบาน) ทำการตรวจคุณภาพทุก 3วันผลการศึกษาพบว่า การฉีดสารละลาย แคลเซียม โบรอน ความเข้มข้น 2และ 3เท่า ร่วมกับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15องศาเซลเซียสเหมาะสมที่สุดเนื่องสามารถลดอาการเป็นโพรงในผลมะม่วง ในส่วนขององค์ประกอบทางเคมี และคุณสมบัติทางกายภาพพบว่ามะม่วงน้ำดอกไม้ที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15องศาเซลเซียสมีปริมาณวิตามินซี ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ และการเปลี่ยนแปลงสีผิวค่า L เมื่อฉีดพ่นสารละลายแคลเซียม-โบรอน  2และ 4เท่า มีค่ามากกว่า Control ตามลำดับ และในการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 27องศาเซลเซียสพบว่า เมื่อฉีดพ่นสารละลายแคลเซียม-โบรอน 1และ 2เท่า มีผลทำให้ ปริมาณกรดที่ไตเตรทได้ ค่าการเปลี่ยนแปลงสีผิวค่า L และปริมาณวิตามินซี มีค่ามากกว่า Control และยังพบว่า สารละลายแคลเซียม-โบรอน ที่ความเข้มข้น 2และ 3เท่า ไม่พบบาดแผลสีน้ำตาลในเนื้อของผลมะม่วงน้ำดอกไม้ ส่วนต้นที่ไม่ได้ฉีดพ่นสารละลายแคลเซียม-โบรอน พบอาการบาดแผลสีน้ำตาลในเนื้อของผลร้อยละ 12.12ต้นที่ฉีดพ่นสารละลายแคลเซียม-โบรอน 1และ 4เท่า พบอาการบาดแผลสีน้ำตาลในเนื้อของผลร้อยละ 6.06ซึ่งในการเก็บที่อุณหภูมิ 15องศาเซลเซียสช่วยรักษาคุณภาพของมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองได้เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (27องศาเซลเซียส) ซึ่งประเมินจากองค์ประกอบทางเคมี และคุณสมบัติทางกายภาพ