การพัฒนาสารเคลือบผิวจากไคโตซานเพื่อยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอม
อุมาพร ชนประชา อนุวัตร แจ้งชัด และ กมลววรณ แจ้งชัด
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41 : 1 (พิเศษ) : 160-163 (2553)
2553
บทคัดย่อ
กล้วยหอมเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่มีศักยภาพต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย อย่างไรก็ตาม กล้วยหอมเป็นผลไม้ที่เกิดการเสื่อมเสียได้ง่าย ทำให้อายุการเก็บรักษาสั้นลง ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการพัฒนาสารเคลือบผิวไคโตซานและไขผึ้งเพื่อยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอม โดยศึกษาปริมาณอิมัลซิไฟเออร์ที่เหมาะสมที่เติมลงในสารเคลือบผิว ได้แก่ กลีเซอรอล ร้อยละ 0-10 และทวีน 80 ร้อยละ 0-5ตามแผนการทดลองแบบ Central Composite Design (CCD) แล้ววิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางเคมีและกายภาพของกล้วยหอม จากการทดลอง พบว่า การเคลือบผิวมีประสิทธิภาพในการชะลอการสุกของกล้วยหอมโดยพิจารณาจากคุณภาพด้าน ความแข็ง กิจกรรมของเอนไซม์พอลีฟีนอลออกซิเดส (PPO) ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ การสูญเสียน้ำหนักและการเปลี่ยนแปลงสีเปลือก โดยสารเคลือบผิวที่ปริมาณกลีเซอรอลร้อยละ 5และไม่มีทวีน 80มีประสิทธิภาพในการยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมได้ดีที่สุดโดยสามารถยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมได้นาน12วัน ที่อุณหภูมิห้อง (26+2องศาเซลเซียส)ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 70+5