ความสามารถในการรับแรงกดทับของผลส้มสายน้ำผึ้ง
นฤมล อุปละ ศุภศักดิ์ ลิมปิติ และดนัย บุณยเกียรติ
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41 : 1 (พิเศษ) : 183-186 (2553)
2553
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาความสามารถในการรับแรงกดทับของผลส้มสายน้ำผึ้ง เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการขนส่ง โดยทดสอบการกดทับด้วยเครื่อง texture analyzer ที่ตำแหน่งด้านขั้วและด้านข้างของผลส้มสายน้ำผึ้งที่ไม่ผ่านการแช่เย็น พบว่าที่ตำแหน่งด้านขั้วและด้านข้างของผลส้มสามารถรับแรงกดทับได้ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และเมื่อทดสอบความเสียหายจากการช้ำที่ระยะยุบตัว 0, 10, 20 และ 30% ของความสูงผลส้ม โดยวัดการรั่วไหลของสารอิเล็กโตรไลต์ของเปลือกส้ม และวัดอัตราการหายใจ พบว่าที่ระยะยุบตัว 30% มีการรั่วไหลของสารอิเล็กโตรไลต์มากกว่าที่ระยะยุบตัวอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าเท่ากับ 47.5±3.8%ส่วนที่ระยะยุบตัว 10% และผลที่ไม่ถูกกดทับมีค่าการรั่วไหลของสารอิเล็กโตรไลต์ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และเมื่อนำผลส้มไปวัดอัตราการหายใจที่ 1 และ 2 ชั่วโมงหลังจากกดทับ พบว่า ที่ชั่วโมงที่ 1 ไม่เกิดความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลอง ในชั่วโมงที่ 2 พบว่าอัตราการหายใจของผลส้มที่ไม่ถูกกดทับและถูกกดทับที่ระยะยุบตัว 10% ไม่แตกต่างกันทางสถิติ แต่ต่างจากที่ระยะยุบตัว 20% และ 30% อย่างมีนัยสำคัญ