บทคัดย่องานวิจัย

การเกิดโรคของผลมังคุด (Garcinia mangostana) ในภาคตะวันออกของประเทศไทย

เนตรนภิส เขียวขำ สมศิริ แสงโชติ และ ธัญมน สังข์ศิริ

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41 : 1 (พิเศษ) : 275-278 (2553)

2553

บทคัดย่อ

การเกิดโรคของผลมังคุด (Garcinia mangostana) ในภาคตะวันออกของประเทศไทย

ศึกษาผลเน่าของมังคุด (Garcinia mangostana) ของภาคตะวันออกของประเทศไทย ในระยะดอกตูม ดอกบาน และผลในระยะต่างๆ พบเชื้อรา Pestalotiopsis sp.ทำลายระยะดอกตูม ดอกบาน และระยะที่กลีบดอกร่วง เท่ากับร้อยละ 85.0 13.8 และ 66.3ตามลำดับ ส่วนก้านและใบตรวจพบเชื้อรา Pestalotiopsis sp.ร้อยละ 47.6 และ 51.5 ตามลำดับ กลีบเลี้ยงของผลมังคุดอายุผลต่างๆ พบการเข้าทำลายของเชื้อรา Pestalotiopsis sp.สูงสุดร้อยละ 23.8 ในผลอายุ 90 วัน จากส่วนกลีบเลี้ยงที่ถูกเข้าทำลายทั้งหมดร้อยละ 48.8 โดยเมื่อแยกเชื้อราจากกลีบเลี้ยงของผลในระยะสุกแก่ จากแปลงปลูก 6 แห่งในจังหวัดระยอง ตรวจพบเชื้อรา Pestalotiopsis sp. Colletotrichum gloeosporioides และPhomopsis sp.และพบผลแข็งร้อยละ 9.6-42.5ซึ่งตรวจพบเชื้อรา Lasiodiplodia theobromae  ร้อยละ 88.2% หลังจากเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 14 วัน  ซึ่งสามารถระบุว่าเป็นเชื้อสาเหตุโรคที่เกิดขึ้นหลังการเก็บเกี่ยวซึ่งเป็นสาเหตุของการสูญเสีย