การประเมินเชื้อพันธุกรรมพริกต่อการต้านทานโรคแอนแทรคโนส
รัติยา พงศ์พิสุทธา และ จริยา สุนทร
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41 : 1 (พิเศษ) : 303-306 (2553)
2553
บทคัดย่อ
โรคแอนแทรคโนสพริกเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว งานทดลองครั้งนี้ได้ศึกษาความต้านทานโรคแอนแทรคโนสของพริก Capsicum chinense และ C. annuum จำนวน 41 สายพันธุ์ จากเชื้อพันธุกรรมพริกของศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน โดยทดสอบในโรงเรือนปลูกเชื้อแบบ attached fruit inoculation ด้วยสารแขวนลอยสปอร์เชื้อรา Colletotrichum capsici ที่มีจำนวนสปอร์ 2-2.3 x 106 สปอร์/มิลลิลิตร บ่มผลพริกที่ปลูกเชื้อในถุงพลาสติกนาน 48 ชั่วโมง โดยมีพริกสายพันธุ์ CA365 และ CA446 เป็น susceptible control และ resistant control ตามลำดับ การวิเคราะห์พื้นที่การเกิดโรคใช้โปรแกรม Scion Image Release Alpha 4แบ่งความต้านทานโรคออกเป็น 4 ระดับ คือ สายพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค (S)อ่อนแอต่อโรคระดับปานกลาง (MS)ต้านทานโรคในระดับปานกลาง (MR)และต้านทานโรค (R)โดยพบสายพันธุ์พริกที่ต้านทานโรคจำนวน 17 สายพันธุ์ มีพื้นที่การเกิดโรค 0-17.93 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ สายพันธุ์ CA752, CA822, CA892, CA911, CA924, CA927, CA1110, CA1151, CA1180, CA1181, CA1186, CA1245, CA1251, CA1299, CA1302, CA1394 และ CA1429ในขณะที่สายพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรค อ่อนแอต่อโรคระดับปานกลาง ต้านทานโรคในระดับปานกลาง พบเพียง 4, 10 และ 10 สายพันธุ์ และมีพื้นที่การเกิดโรค 64.53-89.16, 41.98-54.93 และ 25.59-39.73 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ