บทคัดย่องานวิจัย

การคัดคุณภาพความสุกแก่ของผลแก้วมังกรโดยใช้ Partial Least Square Regression Model

ใจทิพย์ วานิชชัง บัณฑิต จริโมภาส และ อนุพันธ์ เทอดวงศ์วรกุล

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41 : 1 (พิเศษ) : 365-368 (2553)

2553

บทคัดย่อ

การคัดคุณภาพความสุกแก่ของผลแก้วมังกรโดยใช้ Partial Least Square Regression Model

 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ คัดคุณภาพความสุกแก่ของผลแก้วมังกรโดยใช้  Partial Least Square Regression Model(PLSR)ทำการทดลองกับผลแก้วมังกร 2 พันธุ์ คือ พันธุ์เนื้อขาว (Hylocereus undatus)  และพันธุ์เนื้อแดง (Hylocereus polyrhizus) โดยการเก็บเกี่ยวผลแก้วมังกรที่อายุ 23 -40 วันหลังดอกบาน และตรวจวัดสมบัติทางกายภาพ ทางกล ทางสรีระวิทยา และทางแสงตามวิธีมาตรฐาน  ความสุกแก่ของผลแก้วมังกรแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงอ่อน (23-27 วันหลังดอกบาน) ช่วงเจริญเต็มที่  (28-30 วันหลังดอกบาน) และช่วงสุกแก่  (32-40 วันหลังดอกบาน)  ใช้ผลแก้วมังกรตัวอย่างทั้งสิ้น 520 ผล โดยแบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง Calibration set 416 ผล และ Validation set 104 ผล ทำการวิเคราะห์ PLSR model โดยใช้โปรแกรม Unscrambler  version 9.7 สมบัติที่ใช้ในการคัดคุณภาพ ได้แก่ น้ำหนักจำเพาะ ความกลมของผล อัตราส่วนของน้ำหนักเนื้อต่อน้ำหนักผล ความแน่นเนื้อของผลทั้งเปลือก ความแน่นเนื้อเมื่อไม่มีเปลือก ปริมาณของแข็งที่ละลายได้   ปริมาณกรด อัตราส่วนของปริมาณของแข็งที่ละลายได้ต่อปริมาณกรด  ค่าสีของผลในหน่วย L a และ b  และค่าอัตราส่วนการสะท้อนแสงช่วง 550ต่อ 680 นาโนเมตร  ( R550/R680 )จากการวิเคราะห์  พบว่า ค่าอัตราการสะท้อนแสง (R550/R680)มีความสัมพันธ์กับความสุกแก่ของผลแก้วมังกรมากที่สุดในสมบัติที่ทดสอบ และ PLSR model  สามารถทำนายความสุกแก่ของผลแก้วมังกรได้อย่างถูกต้อง โดยไม่ต้องทำลายตัวอย่าง เนื่องจากใช้สมบัติเพียง 3 ด้าน ได้แก่ ความแน่นเนื้อของผลทั้งเปลือก  ค่าสีของผล a และ bได้ความแม่นยำมีค่า Correlation:R=0.97 และ SEP=0.35 เท่านั้น