ผลของการเคลือบเมล็ดด้วยสารป้องกันโรคและแมลงต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์
บุญมี ศิริ และธิดารัตน์ แก้วคำ
การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 9. วันที่ 11-14 พฤษภาคม 2553. ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์
2553
บทคัดย่อ
การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเคลือบเมล็ดด้วยสารป้องกันโรคและแมลงต่อคุณภาพเมล็ดพันธุ์หลังการเคลือบ หลังการเร่งอายุและหลังการเก็บรักษา โดยการคลุมหรือเคลือบเมล็ดวิธีการต่างๆ คือ 1) เมล็ดไม่เคลือบสาร2) เมล็ดเคลือบด้วยพอลิเมอร์ 3) เมล็ดเคลือบพอลิเมอร์ผสม metalaxyl 7 กรัม/กิโลกรัมเมล็ด 4) เมล็ดด้วยพอลิเมอร์ผสม metalaxyl 14กรัม/กิโลกรัมเมล็ด 5) เมล็ดเคลือบด้วยพอลิเมอร์ผสม imidacloprid metalaxyl 5กรัม/กิโลกรัมเมล็ด 6) เมล็ดเคลือบด้วยพอลิเมอร์ผสม imidacloprid 10กรัม/กิโลกรัมเมล็ด 7) เมล็ดเคลือบด้วยพอลิเมอร์ผสม metalaxyl 7 + imidacloprid 5กรัม/กิโลกรัมเมล็ด 8) คลุกด้วย imidacloprid5 กรัม/กิโลกรัมเมล็ด 9) คลุกด้วย imidacloprid10 กรัม/กิโลกรัมเมล็ด 10) คลุกด้วย metalaxyl7 กรัม/กิโลกรัมเมล็ด และ 11) คลุกด้วย metalaxyl14 กรัม/กิโลกรัมเมล็ด จากนั้นนำมาตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์หลังการเคลือบหลังการเร่งอายุ และระหว่างการเก็บรักษา พบว่า หลังการเคลือบเมล็ดทำให้เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ดพันธุ์ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติกับเมล็ดที่ไม่เคลือบสาร ส่วนความงอกหลังการเร่งอายุพบว่าเมล็ดที่เคลือบสารมีเปอร์เซ็นต์ความงอกทั้งที่เพาะในสภาพห้องปฏิบัติการและในสภาพโรงเรือนสูงกว่าเมล็ดที่ไม่เคลือบสาร ส่วนความงอกของเมล็ดพันธุ์ที่เพาะในห้องปฏิบัติการ หลังการเก็บรักษาไว้ในสภาพควบคุมสภาพแวดล้อม เมล็ดที่เคลือบด้วยพอลิเมอร์เคลือบด้วยพอลิเมอร์ผสมกับ imidaclopridอัตรา 10 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม และการคลุกเมล็ดด้วย อัตรา 5 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูงกว่าเมล็ดที่ไม่เคลือบสาร ส่วนความงอกของเมล็ดพันธุ์ที่เพาะในสภาพไร่ เมื่อเก็บรักษาในห้องที่ควบคุมสภาพแวดล้อม ไม่พบความแตกต่างทางสถิติกันตลอดระยะเวลา 4 เดือน