ผลของการพัลซิ่งด้วยสารซิลเวอร์ไธโอซัลเฟตต่อการหายใจ การผลิตเอธิลีนและอายุการปักแจกันของ
ศิริพร ลือสุวรรณ และ รุ่งอรุณ สาสนทาญาติ
การประชุมวิชาการพืชสวนแห่งชาติ ครั้งที่ 9. วันที่ 11-14 พฤษภาคม 2553. ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์
2553
บทคัดย่อ
คาร์เนชั่นเป็นดอกไม้ที่ไวต่อการกระตุ้นด้วยก๊าซเอทธิลีนซึ่งเป็นสาเหตุของการเหี่ยวหรือเสื่อมสภาพซิลเวอร์ไธโอซัลเฟตเป็นสารที่มีประสิทธิภาพยับยั้งการทำงานของก๊าซเอทธิลีนและมีการนำมาใช้ในไม้ดอกหลายชนิดงานวิจัยนี้ศึกษาผลของการจุ่มก้านดอกคาร์เนชั่นในสารละลายซูโครสความเข้มข้นร้อยละ10 ร่วมกับซิลเวอร์ไธโอซัลเฟตความเข้มข้น0, 0.2, 0.5, หรือ1 mM เป็นเวลา4 ชั่วโมงที่อุณหภูมิห้องโดยมีดอกคาร์เนชั่นที่แช่ในน้ำกลั่นเป็นชุดควบคุมหลังจากนั้นนำดอกคาร์เนชั่นมาปักในหลอดทดลองบรรจุน้ำกลั่นเพื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ25 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ85 เป็นเวลา14 วันผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าซิลเวอร์ไธโอซัลเฟตไม่มีผลต่ออัตราการหายใจและการผลิตก๊าซเอทธิลีนของดอกคาร์เนชั่นในระหว่างการเก็บรักษาแต่สามารถชะลอการเหี่ยวและเสื่อมสภาพอันเป็นผลจากเอทธิลีนได้ซิลเวอร์ไธโอซัลเฟตสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำแช่ดอกไม้ซึ่งอาจช่วยลดการอุดตันของรอยตัดก้านดอกทำให้มีการดูดน้ำได้ดีผลดังกล่าวนี้สังเกตพบได้ชัดเจนในชุดทดลองที่ใช้ซิลเวอร์ไธโอซัลเฟตความเข้มข้นสูงการจุ่มก้านดอกในสารละลายซูโครสร้อยละ10 ร่วมกับซิลเวอร์ไธโอซัลเฟต1 mM สามารถยืดอายุการปักแจกันของดอกคาร์เนชั่นได้ถึง12 วันเมื่อเปรียบเทียบกับชุดทดลองที่ใช้สารละลายซูโครสร้อยละ10 ร่วมกับซิลเวอร์ไธโอซัลเฟต0.5 mM (9 วัน) สารละลายซูโครสร้อยละ10 ร่วมกับซิลเวอร์ไธโอซัลเฟต0.2 mM (8 วัน) และชุดควบคุม(8 วัน)