การพัฒนาการใช้สารสกัดจากอบเชยในการควบคุมโรคหลังการเก็บเกี่ยวของมะม่วงน้ำดอกไม้
เนตรนภิส เขียวขำ สมศิริ แสงโชติ สรัญญา วัชโรทัย และ วาริช ศรีละออง
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 40 ฉบับที่ 3 (พิเศษ). หน้า 260-264. 2552.
2552
บทคัดย่อ
ในการศึกษาและประเมินผลการกำจัดเชื้อราของสารสกัดหยาบอบเชย lipophillic phase ได้แก่เปลือกต้นอบเชยไทย (Cinnamomum aromaticum) เปลือกต้นอบเชยเทศ (C. zeylanicum)เปลือกต้นอบเชยญวน (C. loureirii)เปลือกต้นและใบเชียด (C. iners) และเปลือกต้นและใบจวง (C. porrectum) ต่อการเจริญของ Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรกโนส และ Botryodiplodia theobromae สาเหตุโรคขั้วผลเน่าของมะม่วง พบว่าสารสกัดหยาบเปลือกอบเชยญวนส่วนที่ละลายในคลอโรฟอร์มและในเมทานอล แสดงคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา Cladosporium sp. ด้วยวิธี bioautography โดยมีบริเวณยับยั้งการเจริญของเชื้อรามากที่สุด สารสกัดอบเชยญวนส่วนที่ละลายในเมทานอลแสดงคุณสมบัติยับยั้งการงอก ของสปอร์ C. gloeosporioides ความเข้มข้น 105 CFU/ml มีค่า MIC เท่ากับ 625 μg/ml ที่เวลา 24 ชั่วโมง โดยไม่มีสารสกัดหยาบอบเชยชนิดใดที่สามารถยับยั้งการงอกของสปอร์ B. theobromae เมื่อแยกส่วนสารประกอบ (fraction) ของอบเชยญวนส่วนที่ละลายในเมทานอล ด้วยวิธีคอลัมน์โครมาโตกราฟี มี 4 ส่วน ที่แสดงคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา ได้แก่ ด้วยตัวทำละลายเฮกเซน:เอทิลอะซีเต็ด 25:75 (VI) เอทิลอะซีเต็ด:เมทานอล 95:5 (VIII) 90:10 (IX) และ 50:50 (XI) เมื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดอบเชยต่อการควบคุมโรคแอนแทรกโนสบนผลมะม่วงน้ำดอกไม้พ่นด้วยสารสกัดอบเชยญวนละลายด้u3623 วยน้ำ 5,000 และ 10,000 ppm มีร้อยละของการเกิดโรคเท่ากับ 33 เท่ากับจุ่มในสารเคมี carbendazim 500 ppm เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุมมีร้อยละของการเกิดโรคเท่ากับ 92 และที่แช่ในน้ำร้อนอุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 5 นาที ร้อยละของการเกิดโรคเท่ากับ 22