การตรวจสอบค่าความหวานผลลองกองด้วยเครื่องวัดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าย่านใกล้อินฟราเรด
อาทิตย์ จันทร์หิรัญ วารุณี ธนะแพสย์ ศุมาพร เกษมส าราญ และ จิราพร อนุสรณ์วงศ์ชัย
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 41 ฉบับที่ 3/1 (พิเศษ). หน้า 29-32. 2553.
2553
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลลองกองเกี่ยวกับการทำนายค่าปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (°Brix) ด้วยการใช้เทคนิคแสงย่านใกล้อินฟราเรดในช่วงคลื่นสั้น โดยการวัดตัวอย่างแบบใช้วิธีสะท้อนกลับ (Interactance mode) ในช่วงความยาวคลื่น 600-1100 นาโนเมตร และวิธีทะลุผ่าน (Transmittance mode) ในช่วงความยาวคลื่น 650-955 นาโนเมตร ตัวอย่างลองกอง 310 ผล จากนั้นสร้างสมการทดสอบ (Calibration) และสมการทำนาย (Prediction) ด้วยวิธี Partial Least Squares Regression (PLSR) พบว่าลองกอง มีสมการทดสอบและสมการท านายค่า ºBrix สเปคตรัมแบบ 2nd Derivative วิธี Transmittance mode มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) ดีที่สุด และมีค่า RMSEC ต่ำที่สุด คือ ลองกอง ปีที่ 1 ค่า R คือ 0.935, ปีที่ 2 มีค่า 0.970 และ RMSEC มีค่าต่ำที่สุด คือ ปีที่ 1 มีค่า 0.396 และปีที่ 2 มีค่า 0.386 และเมื่อนำสเปกตรัมปีที่ 1 และปีที่ 2 มารวมกัน มีค่า R ดีที่สุด คือ 0.947 และมีค่า RMSEC ต่ำที่สุด คือ 0.448 จากผลที่ได้จะเห็นได้ว่าเทคนิคการใช้คลื่นสั้นย่านใกล้อินฟราเรดแบบทะลุผ่านและแบบสะท้อนกลับมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ในการทำนายปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (ºBrix) แบบไม่ทำลายได้อย่างแม่นยำแต่แบบทะลุผ่านค่อนข้างจะดีกว่าเพราะมีความเข้มแสงที่จะสามารถทะลุทะลวงที่ดี