บทคัดย่องานวิจัย

การตรวจสอบคุณภาพอ้อยด้วยแสงย่านใกล้อินฟราเรด

จิราพร อนุสรณ์วงศ์ชัย ศุมาพร เกษมส าราญ วีระพล พลรักดี ทักษิณา ศันสยะวิชัย วารุณี ธนะแพสย์ และ ซาโตรุ มิยาตะ

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 41 ฉบับที่ 3/1 (พิเศษ). หน้า 85-88. 2553.

2553

บทคัดย่อ

การตรวจสอบคุณภาพอ้อยด้วยแสงย่านใกล้อินฟราเรด

 

ตรวจสอบคุณภาพอ้อยด้วยแสงเนียร์อินฟราเรดสเปกโตรสโกปี ใช้ตัวอย่างทั้งหมดในรูปของน้ำอ้อยจำนวน 30 ตัวอย่าง และอ้อยที่ผ่านการบดและอบแห้ง (กากอ้อย) จำนวน 30 ตัวอย่าง ได้จากส่วนต่างๆ ของลำอ้อย ได้แก่ โคน กลาง และส่วนปลาย นำน้ำอ้อยมาวิเคราะห์หาปริมาณของเเข็งทั้งหมดที่ละลายได้ (°Brix) และร้อยละน้ำตาลซูโครส (Pol) ส่วนกากอ้อยนำมาวิเคราะห์หาปริมาณของเเข็งที่ไม่ละลายน้ำ (fiber) โดยการสร้างสมการถดถ้อยเชิงเส้น (Partial Least Squares Regression (PLS) เพื่อการประเมินคุณภาพอ้อย และการเปรียบเทียบค่าที่เหมาะสมที่สุดของแต่ละสมการที่สร้างจากสเปกตรัมเริ่มต้นและผ่านการปรับแต่งสเปคตรัม จากการทดลองพบว่าสมการให้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และค่าความคลาดเคลื่อนจากการทำนายของ brix, Pol และ fiber ร้อยละ 0.999, 0.921 และ0.867 และ 0.264 , ร้อยละ 1.834 และ 1.130 ตามลำดับ