ระยะการตัดดอกที่เหมาะสมและการปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยวของหน้าวัวตัดดอก
ณัชชา ชัยพันธ์วิริยาพร และ มัชฌิมา นราดิศร
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 41 ฉบับที่ 3/1 (พิเศษ). หน้า 453-456. 2553.
2553
บทคัดย่อ
การทดลองนี้เป็นการศึกษาระยะการตัดดอกที่เหมาะสมและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวของหน้าวัวตัดดอกพันธุ์เปลวเทียนภูเก็ต โดยศึกษาการตัดดอกที่ระยะดอกบานร้อยละ 25, 50, 75 และ 100 และปักแช่ในน้ำสะอาด พบว่า การตัดดอกที่ระยะดอกบานร้อยละ 75 มีผลต่ออายุการปักแจกันนานขึ้นเป็น 16.7 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับอายุการปักแจกันของดอกที่เก็บเกี่ยวในระยะดอกบานร้อยละ 50, 25 และ 100 ซึ่งมีอายุการปักแจกันเพียง 13.3, 12.6 และ 10.0 วัน ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบการใช้สารลดจำนวนจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ในน้ำยาปักแจกัน พบว่า สารละลายที่มีส่วนประกอบของเอทานอลความเข้มข้น 2% สามารถยืดอายุการปักแจกันของหน้าวัวตัดดอกพันธุ์เปลวเทียนภูเก็ตได้อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบสารละลายที่มีส่วนผสมของแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้น 2% และ 4% การทดลองนี้จึงเป็นการยืนยันแนวปฏิบัติของเกษตรกร คือ การตัดดอกหน้าวัวเพื่อการค้า ควรตัดที่ระยะดอกบาน 75%