การประเมินผลการจัดชั้นคุณภาพของผลน้อยหน่า
ปรัชญาพันธ์ นนทา กวิศร์ วานิชกุล และ เรืองศักดิ์ กมขุนทด
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร ปีที่ 41 ฉบับที่ 3/1 (พิเศษ). หน้า 541-544. 2553.
2553
บทคัดย่อ
การประเมินผลการจัดระดับชั้นคุณภาพน้อยหน่าจากสวนเกษตรกร อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา เพื่อศึกษาความแตกต่างและความเหลื่อมล้ำทางปริมาณและคุณภาพของน้อยหน่า แบ่งเป็น 4 ระดับชั้นคุณภาพ ได้แก่ ใหญ่ กลาง เล็ก และก้อย เมื่อนำน้ำหนักผลมาสร้างกราฟเส้นโค้งความถี่ พบว่ามีการเหลื่อมล้ำระหว่างระดับชั้นคุณภาพค่อนข้างสูง ชนิดของตำหนิที่พบในผลน้อยหน่า ได้แก่ ราด า และผลแตก เมื่อตรวจสอบคุณภาพภายนอก พบว่า ความกว้าง ความยาว และน้ำหนักผล มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง แต่ความหนาแน่นไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนคุณภาพภายในของผลน้อยหน่า พบว่า น้ำหนักเนื้อ และจำนวนเมล็ด มีความแตกต่างทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง ค่าร้อยละของส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ ความแน่นเนื้อ ปริมาณ total soluble solids (TSS) ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TA) และสัดส่วน TSS ต่อ TA ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ