การเพิ่มขึ้นของโรคแอนแทรกโนสบนใบและการติดเชื้อของผลองุ่นพันธุ์รับประทานสด
สมศิริ แสงโชติ และ รัตติรส เชียงสิน
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 : 1 (พิเศษ) : 115-118 (2554)
2554
บทคัดย่อ
การเพิ่มขึ้นของโรคแอนแทรกโนสที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gloeoporioides บนใบองุ่นในสภาพแปลงปลูกบนองุ่นพันธุ์ Marroo Seedless และ พันธุ์ Loose Perlette ในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝน พบว่าองุ่นพันธุ์ Marroo Seedless ที่ปลูกในฤดูฝนมีการเพิ่มขึ้นของโรคสูงกว่าฤดูแล้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (ฤดูแล้ง = 1049.07, ฤดูฝน = 1362.20)แต่ในองุ่นพันธุ์ Loose Perlette การเพิ่มขึ้นของโรคแอนแทรกโนสทั้งสองฤดูปลูกไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และไม่พบอาการของโรคแอนแทรกโนสบนผลองุ่นทั้งสองพันธุ์ ในระยะก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว คุณภาพของผลองุ่นในระยะผลโต ผลเปลี่ยนสี และระยะเก็บเกี่ยว พบว่าในองุ่นพันธุ์ Marroo Seedless มีขนาดและน้ำหนักของผลมากกว่าพันธุ์ Loose Perlette มีค่า pHปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ เท่ากับ 2.6 – 3.5, 4.0-15.0 %Brix และ3.4– 0.5 ตามลำดับ สำหรับองุ่นพันธุ์ Loose Perlette มีค่า pHTSS และ TA ไม่แตกต่างจากพันธุ์ Marroo Seedless อย่างไรก็ดี เมื่อปลูกเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides ก่อนการเก็บเกี่ยว 1 สัปดาห์ พบว่า พันธุ์ Marroo Seedless และ พันธุ์ Loose Perlette มีการติดเชื้อแฝง 69 และ 81 % ตามลำดับ