ผลการยับยั้งจุลินทรีย์ของเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์และกรดแลกติกต่อ Staphylococcus aureus ที่ปนเปื้อนบนถั่วงอก
บุษกร ทองใบ
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 : 1 (พิเศษ) : 175-178 (2554)
2554
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการยับยั้งจุลินทรีย์ของเซทธิลไพริดิเนียมคลอไรด์(CPC) และกรดแลคติก (LA) ต่อ Staphylococcus aureus ที่ปนเปื้อนถั่วงอก โดยถั่วงอกถูกสร้างสภาพการปนเปื้อนด้วย S. aureus (106 CFU/ml) จากนั้นนำมาทดสอบด้วยเซทธิลไพริดิเนียมคลอไรด์(0. 0.5, 1.0, 2.0 และ 4.0%w/v) กรดแลคติก (0, 0.5, 1.0 และ 2.0%v/v)และเซทธิลไพริดิเนียมคลอไรด์ร่วมกับกรดแลคติก (CPC–LA) (0, 0.5:0.5, 0.5:1.0 และ 0.5:2.0 w/v:v/v)ผลการทดลองพบว่าความเข้มข้นที่เหมาะสมของเซทธิลไพริดิเนียมคลอไรด์ กรดแลคติก และเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ร่วมกับกรดแลกติกที่สามารถยับยั้ง S. aureus ที่ปนเปื้อนถั่วงอกคือ 2.0%w/v (2.57 log CFU/g) 2.0%v/v (3.43 log CFU/g)และ 0.5:2.0%w/v:v/v (3.16 log CFU/g)ตามลำดับ จากประสิทธิภาพในการยับยั้งจุลินทรีย์ของเซทธิลไพริดิเนียมคลอไรด์และกรดแลคติกได้นี้ทำให้เห็นถึงศักยภาพของสารนี้ที่สามารถนำไปใช้เป็นน้ำยาฆ่าเชื้อในการล้างผลิตผลการเกษตรเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของอาหาร