บทคัดย่องานวิจัย

ผลของการใช้น้ำร้อนต่ออาการสะท้านหนาวในกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า

โกวิทย์ กางนอก มาระตรี เปลี่ยนศิริชัย พีระยศ แข็งขัน ยุทธจักร จันทศิลป์ ศรัณยู คำเมือง รักฤดี สารธิมา และ จำนงค์ อุทัยบุตร

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 : 1 (พิเศษ) : 217-219 (2554)

2554

บทคัดย่อ

ผลของการใช้น้ำร้อนต่ออาการสะท้านหนาวในกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้า

 

อาการสะท้านหนาว เป็นปัญหาสำคัญของผลไม้เมืองร้อนเมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ งานวิจัยนี้ศึกษาผลของการใช้น้ำร้อนที่อุณหภูมิ 42 และ 46 องศาเซลเซียส ต่อการลดอาการสะท้านในผลกล้วยหอม (Musa acuminata, AAA Group) และกล้วยน้ำว้า (Musa paradisiaca, ABB Group) ซึ่งเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 9 องศาเซลเซียส พบว่า การจุ่มผล ในน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 42 และ 46 องศาเซลเซียส นาน 15 และ 20 นาที ทำให้ผลกล้วยซึ่งเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 9 องศาเซลเซียส เกิดอาการสะท้านหนาวช้ากว่าผลกล้วยที่ไม่ได้จุ่มน้ำร้อน  สามารถเก็บรักษาผลกล้วยหอมและกล้วยน้ำว้าได้นาน 6 และ 8 วัน ตามลำดับ โดยไม่เกิดอาการสะท้านหนาว และผลกล้วยทั้ง 2 พันธุ์สามารถสุกได้ตามปกติเมื่อนำมาไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส