บทคัดย่องานวิจัย

ผลของตัวทำละลายที่ใช้สกัดต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลและสมบัติการต้านออกซิเดชันในผลมะเดื่อฝรั่งสายพันธุ์ต่างๆ

จารุวรรณ์ รัตนสกุลธรรม และวรรณี จิรภาคย์กุล

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 : 1 (พิเศษ) : 240-243 (2554)

2554

บทคัดย่อ

ผลของตัวทำละลายที่ใช้สกัดต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลและสมบัติการต้านออกซิเดชันในผลมะเดื่อฝรั่งสายพันธุ์ต่างๆ

มะเดื่อฝรั่งเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เป็นไม้ผลที่สำคัญของหลายประเทศทั่วโลก มะเดื่อฝรั่งเป็นแหล่งคุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญ เช่น วิตามินและเกลือแร่  อีกทั้งยังมีสารพฤกษเคมีที่มีสมบัติเป็นสารต้านออกซิเดชัน จากการศึกษาผลของตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัด (อะซิโตนร้อยละ 70 และเมทานอลร้อยละ 80) ผลมะเดื่อฝรั่ง 4 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์    แบลคมิชชัน  แบลคจีนัว  โฮไร  และคาโดต้า ต่อปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด  ปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด และสมบัติการต้านออกซิเดชันด้วยวิธี 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) assay พบว่า ผลมะเดื่อฝรั่งทั้ง 4 สายพันธุ์ที่สกัดด้วย  อะซิโตนมีปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด  ปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด และสมบัติการต้านออกซิเดชัน  สูงกว่าการสกัดด้วยเมทานอล โดยสายพันธุ์แบลคจีนัวมีค่าที่วิเคราะห์ได้สูงสุด รองลงมาได้แก่ สายพันธุ์แบลคมิชชัน โฮไรและคาโดต้า ตามลำดับ โดยปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมดของสายพันธุ์แบลคจีนัวที่สกัดด้วยอะซิโตนมีค่าเป็น 295.72±42.49มิลลิกรัมสมมูลของกรดแกลลิกต่อ 100 กรัมน้ำหนักแห้ง