ผลของสารสกัดจากเปลือกลำต้นของพืชสกุล Aglaia ต่อการเจริญของเชื้อราColletotrichum gloeosporioides และ C. capsici ที่แยกจากผลมะละกอ
เนตรนภิส เขียวขำ และ ธัญมน สังข์ศิริ
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 : 1 (พิเศษ) : 283-286 (2554)
2554
บทคัดย่อ
สารสกัดหยาบlipophilic phase จากพืช Aglaia species 5 ชนิด คือ Aglaia oligophylla, A. elaeagnoidea, A. eximia, A. leptantha และA. spectabilisจากสถานีวิจัยวนเกษตร จังหวัดตราด ใช้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบและสารประกอบต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อราColletotrichum colletosporioides และ C. capsici จากผลมะละกอพันธุ์พันธุ์แขกดำและฮอล์แลนด์ สารสกัดหยาบ A. elaeagnoidea ยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา C. colletosporioides ที่เวลา 24 ชั่วโมงมีค่าminimum inhibitory concentration (MIC) เท่ากับ 2,500 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สารประกอบ A. elaeagnoidea VIที่แยกได้จากสารละลาย hexane:EtOAc 1:3 ด้วยวิธี column chromatographyยับยั้งการงอกของสปอร์เชื้อรา C. colletosporioides strain CGH1, CGH9 และ CGK7ความเข้มข้น 103 conidia/mlที่เวลา 24 ชั่วโมง มีค่า MICเท่ากับ 625, 312.5 และ 312.5 µg/mlตามลำดับ และสารประกอบของ A. elaeagnoidea XIที่แยกได้จากสารละลาย EtOAc:MeOH 1:1มีค่า MICเท่ากับ 312.5, 312.5 และ 625 µg/mlตามลำดับ เมื่อทดสอบการควบคุมโรคบนผลมะละกอพบว่าเชื้อราC. gloeosporioidesสามารถเข้าทำลายได้ทั้งการปลูกเชื้อแบบทำแผลและไม่ทำแผลไม่แตกต่างกันในชุดควบคุม ผลมะละกอที่ปลูกเชื้อแบบทำแผลและไม่ทำแผลแล้วหยดด้วยสารประกอบVI (แยกได้จากสารละลาย hexane:EtOAc 1:3) ความเข้มข้น 10,000 ppm มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของบริเวณที่เชื้อราเข้าทำลาย 0.59 และ 0.48 เซนติเมตร ตามลำดับ และผลมะละกอที่ปลูกเชื้อC. capsici โดยไม่ทำแผลแล้วหยดสารประกอบของ IX(แยกได้จากสารละลาย EtOAc:MeOH 9:1) ความเข้มข้น 10,000 ppm มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของบริเวณที่เชื้อราเข้าทำลาย 0.23 เซนติเมตร แตกต่างจากชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ โดยที่ผิวผลมะละกอมีลักษณะปกติ