บทคัดย่องานวิจัย

ระยะการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผลแก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาว (Hylocereus undatus)

ศลิษา ศรีสุข อัญชลี ศิริโชติ และ สุจริต ส่วนไพโรจน์

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 : 1 (พิเศษ) : 311-314 (2554)

2554

บทคัดย่อ

ระยะการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของผลแก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาว (Hylocereus undatus)

การเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ระยะผลิดอกถึงระยะเก็บเกี่ยว และศึกษาคุณภาพทางกายภาพ เคมีของแก้วมังกรพันธุ์เนื้อขาวนับจากหลังดอกบาน 25, 28, 31, 34, 37 และ 40 วัน พบว่าแก้วมังกรระยะผลิดอกถึงดอกบานใช้เวลา 25วัน และการเปลี่ยนแปลงขนาดผลตั้งแต่หลังวันดอกบาน 40 วัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของผลเพิ่มขึ้นเป็น 8.94 cm.โดยแก้วมังกรหลังวันดอกบาน 25, 28, 31, 34, 37 และ 40 วัน มีค่า pH เท่ากับ 4.60, 3.49, 3.51, 4.00, 4.40 และ 4.58ตามลำดับ ค่าความสว่าง (L*) ของเนื้อและค่าความแน่นเนื้อ (N) ของเนื้อแก้วมังกรมีค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง ปริมาณความชื้นเพิ่มขึ้นและมีค่าสูงสุดหลังวันดอกบาน 40 วัน มีค่าเท่ากับ 85.58% ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด (oBrix) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหลังวันดอกบานตั้งแต่ 25-31 วัน ขณะที่หลังวันดอกบาน 34-40 วัน มีปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมดไม่แตกต่างกัน ปริมาณกรดทั้งหมดในรูปกรดซิตริก (% w/v) มีค่าลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยผลแก้วมังกรหลังวันดอกบาน 28 วัน มีปริมาณกรดสูงสุดเท่ากับ 1.45% ค่าการรั่วไหลของประจุเนื้อแก้วมังกร (Æ0.08 cm. x ความยาว 0.03 cm.) หลังวันดอกบาน 40วัน มีค่าเท่ากับ 72.23%          ผลแก้วมังกรหลังวันดอกบาน 25-28 วัน มีปริมาณน้ำตาลทั้งหมดและปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ในปริมาณน้อยมากสอดคล้องกับผลการทดสอบ iodine staining ที่ให้ผลของการย้อมสีชิ้นเนื้อแก้วมังกร (cross sectional cut) เป็นสีน้ำเงิน และพบว่าปริมาณน้ำตาลทั้งหมดและน้ำตาลรีดิวซ์ของผลแก้วมังกรหลังวันดอกบาน 31, 34, 37 และ 40 วัน มีค่าเท่ากับ 7.15+0.04 และ 6.94+0.63,  8.19+0.19 และ 8.06+0.30,11.29+0.09 และ 11.05+0.17 และ 11.30+0.10 และ 11.28+0.27 ตามลำดับ