โรคผลเน่าของลองกอง (Aglaia dookkoo Griff.) และการควบคุม
สมศิริ แสงโชติ เนตรนภิส เขียวขำ ธัญมน สังข์ศิริ และ สวิตา สุวรรณรัตน์
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 : 1 (พิเศษ) : 319-322 (2554)
2554
บทคัดย่อ
การศึกษาเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่าของลองกองหลังการเก็บเกี่ยวที่เข้าทำลายก่อนการเก็บเกี่ยวที่อายุผลต่างๆ บริเวณ ต่อมน้ำหวานและเนื้อเยื่อปกติ พบว่าในแต่ละระยะการเจริญเติบโตทั้งบริเวณต่อมน้ำหวานและเนื้อเยื่อปกติ พบเชื้อรา Phomopsissp. เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเมื่อนำน้ำหวานที่ถูกขับออกมาจากบริเวณดังกล่าว ของผลลองกองมาทดสอบความงอกกับสปอร์ของเชื้อรา Phomopsissp. พบว่าที่ความหวาน 15 °Brix สปอร์งอกสูงสุดที่ 91.5 เปอร์เซ็นต์ และเริ่มลดลงที่ 17.5 °Brix เมื่อควบคุมโรคผลเน่าโดยจุ่มผลลองกองหลังการเก็บเกี่ยวด้วย prochloraz, imazalil, sodium hypochlorite และ hydrogen peroxide ที่ความเข้มข้น 750 ppm พบว่าการเกิดโรคผลเน่าลดลง 77.7, 69.2, 40.0และ 21.7เปอร์เซ็นต์ และสามารถลดการร่วงของผลได้ 74.2, 57.1, 35.3 และ 23.3เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อเทียบกับชุดควบคุม โดยเชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคผลเน่าหลังการเก็บเกี่ยวที่ยังคงมีชีวิตอยู่ได้ดีหลังจากผลผ่านการจุ่มในprochloraz คือเชื้อรา Lasiodiplodia theobromae