การเร่งความเก่าของข้าวสารด้วยความร้อนร่วมกับความดันสูง II: การกำหนดสภาวะที่เหมาะสมโดยวิธีผลตอบสนองแบบโครงร่างพื้นผิว
นาฏชนก ปรางปรุ สุธยา พิมพ์พิไล และ สุเนตร สืบค้า
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 : 1 (พิเศษ) : 390-393 (2554)
2554
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสภาวะที่เหมาะสมในการเร่งความเก่าของข้าวสารด้วยวิธีผลตอบสนองแบบ โครงร่างพื้นผิว (Response surface methodology) โดยเลือกใช้แผนการทดลองแบบส่วนประสมกลาง (Central Composite Design) เพื่อทำนายสภาวะที่เหมาะสมของตัวแปรอิสระ 4 ปัจจัยได้แก่ อุณหภูมิของอากาศในถังความดัน (X1)60-80รอบต่อนาที และความดัน (X4) 2-10 บาร์ ต่อตัวแปรตามได้แก่ ค่าสี (y1) ค่าปริมาณอะไมโลส (y2) ค่าความองศา-เซลเซียส ระยะเวลาในการให้ความร้อน(X2) 60-120 นาที ความเร็วรอบในการเคลื่อนที่ของถังความดัน (X3) 30-40 รอบต่อนาที ใหม่-เก่าของข้าว (y3) ค่าปริมาณการแตกหัก (y4) ค่าความหนืด (y5) และค่าการสลายเมล็ดในด่าง (y6) พบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการเร่งความเก่าของข้าวสารคือ อุณหภูมิของอากาศในถังความดัน79.19องศาเซลเซียส ระยะเวลาในการให้ความร้อน67.88 นาที ความเร็วรอบในการเคลื่อนที่ของถังความดัน 33.74 รอบต่อนาที และความดัน 9.19 บาร์ เมื่อทำการทดสอบแบบจำลอง (Regresstion equation) เพื่อยืนยันผลที่สภาวะดังกล่าวพบว่าค่า final viscosity ค่า setback และค่า pasting temperature แตกต่างจาก ค่าจริงร้อยละ 13.03, 13.72 และ 3.34 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการทดสอบโดย Duncan’s Multiple Range Testของการพองตัวของข้าวเก่า และที่เร่งความเก่าไม่แตกต่างกัน