บทคัดย่องานวิจัย

ผลของชนิดถุงพลาสติกและวิธีการบรรจุต่อการเก็บรักษาผักไฮโดรโพนิก

อุบลลักษณ์ เพ็ญพัธนกุล และ รุจิรา ตาปราบ

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 : 1 (พิเศษ) : 627-630 (2554)

2554

บทคัดย่อ

ผลของชนิดถุงพลาสติกและวิธีการบรรจุต่อการเก็บรักษาผักไฮโดรโพนิก

จากแนวโน้มของตลาดในปัจจุบันที่มีความต้องการอาหารจำพวกไฮโดรโพนิกเพิ่มมากขึ้น   เนื่องจากผู้บริโภคยอมรับว่าดีต่อสุขภาพและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ผักที่ปลูกแบบไฮโดรโพนิกจึงเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภค จะเห็นได้จากมีการจำหน่ายผักสลัดสดที่ปลูกแบบไฮโดรโพนิกกันอย่างแพร่หลาย การเก็บรักษาเพื่อให้ผักยังคงคุณภาพดีและมีความสดจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อผู้ค้าและผู้ผลิตก่อนถึงมือผู้บริโภค งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษาการเก็บรักษาผักสลัดสดที่ปลูกแบบไฮโดรโพนิกโดยเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 2 ระดับ คือ 4 และ 10Cบรรจุในถุงพลาสติก 2 ชนิด (ถุงพลาสติกชนิด LDPE 2 และ ถุงพลาสติก FF 3) โดยตัดแต่งผักเป็น 2 ลักษณะ คือ ตัดรากผัก และ ไม่ตัดราก วัดปริมาณก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในถุงของผักตัวอย่างในระหว่างการเก็บรักษา ศึกษาลักษณะทางกายภาพของผักโดยใช้แผนภูมิคะแนน 4 ระดับสำหรับติดตามการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น สี ความสด และ ลักษณะปรากฏตรวจวัดการสูญเสียน้ำหนักของผักในระหว่างการเก็บรักษา จากการทดลองพบว่า ผักตัวอย่างเก็บที่ 4Cเหมาะสมกว่าที่ 10Cเก็บรักษาผักได้ประมาณ 21 วัน โดยภาพรวมผักที่เก็บในถุงพลาสติก FF 3ยังคงความสดได้ดีกว่าผักที่เก็บในถุงพลาสติกชนิด LDPE 2 ผักสลัดที่ตัดรากมีลักษณะทางกายภาพดีกว่าผักที่ไม่ได้ตัดราก การสูญเสียน้ำหนักของผักในขณะที่เก็บรักษา พบว่าถุงพลาสติกชนิด LDPE 2 ดีกว่าถุงพลาสติก FF 3