บทคัดย่องานวิจัย

การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารปราบศัตรูพืชออร์กาโนฟอสฟอรัส 5 ชนิดตกค้างในลำไยสดส่งออกคล้อยตาม ISO/IEC 17025: 2005

เนาวรัตน์ ตั้งมั่นคงวรกูล

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 (3 พิเศษ): 65-68. 2554.

2554

บทคัดย่อ

การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีวิเคราะห์สารปราบศัตรูพืชออร์กาโนฟอสฟอรัส 5 ชนิดตกค้างในลำไยสดส่งออกคล้อยตาม ISO/IEC 17025: 2005

การตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการวิเคราะห์หาปริมาณออร์กาโนฟอสฟอรัสในเนื้อลำไยสดส่งออก โดยใช้วิธีสกัดดัดแปลงจากวิธีของ Steinwandter (1985) เพื่อใช้ในห้องปฏิบัติการ ร่วมกับการใช้เครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ (GC-FPD) เพื่อวิเคราะห์สารกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส 5ชนิดตกค้างในตัวอย่างลำไยสดด้วยเทคนิค fortified sampleได้แก่ diazinon, pirimiphos – methyl, malathion, chlorpyrifos และethionโดยใช้ capillary column ชนิด (5%-phenyl)-methylpolysiloxane พบว่า ช่วงของการวัด (range) และความเป็นเส้นตรง (linearity) อยู่ระหว่าง0.005 – 5 มก./กก. (R2 >0.995) เมื่อทดสอบความจำเพาะเจาะจง (specificity)ได้ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์(%RSD) ของเวลาในการหน่วงอยู่ในช่วง 0.053 –1.178%และค่าการแยกพีคสารแต่ละชนิด (resolution)>1.0 ค่าความแม่น (accuracy) ของวิธีทดสอบโดยการหาเปอร์เซ็นต์การคืนกลับ (%recovery test)ที่ระดับความเข้มข้นต่ำ, กลาง และสูงของสารตกค้าง ได้แก่ 0.01, 0.20 และ 2.00มก./กก. พบค่าอยู่ในช่วง 91-105, 90-98 และ94-97% ตามลำดับ การหาค่าความเที่ยง (precision) ของวิธีทดสอบในช่วง 0.01ถึง 2.0 มก./กก. (n=10) พบว่า %RSD มีค่าระหว่าง 3.32-15.67% และค่า HORRAT < 2ส่วนขีดจำกัดของการตรวจพบ (LOD)และขีดจำกัดของการวัดเชิงปริมาณ (LOQ)มีค่า 0.006และ 0.01 มก./กก. ตามลำดับ โดยสรุปแล้ววิธีทดสอบนี้มีความเหมาะสมในการทดสอบหาสารปราบศัตรูพืชออร์กาโนฟอสฟอรัส 5 ชนิดตกค้างในลำไยสดส่งออกตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2005 โดยห้องปฏิบัติการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 ที่ผ่านการรับรองได้นำวิธีการนี้ไปวิเคราะห์ตัวอย่างลำไยสดส่งออกที่ผ่านระบบนี้ตั้งแต่ พฤศจิกายน 2552 ถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 รวมจำนวน 139 ตัวอย่าง