บทคัดย่องานวิจัย

การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 ตาม ISO/IEC 17025: 2005

วิทยา อภัย ณัฐนัย ตั้งมั่นคงวรกูล และเนาวรัตน์ ตั้งมั่นคงวรกูล

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 (3 พิเศษ): 133-136. 2554.

2554

บทคัดย่อ

การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 ตาม ISO/IEC 17025: 2005

การพัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจสอบสารพิษตกค้างตามมาตรฐานISO/IEC 17025:2005 ในการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบดำเนินการที่กลุ่มพัฒนาการตรวจสอบพืชและปัจจัยการผลิต (กพป.) สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 (สวพ.1) ระหว่าง พ.ศ. 2552 - 2553 โดยดำเนินการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ และความเข้าใจในข้อกำหนดของระบบคุณภาพตามISO/IEC 17025: 2005การเขียนและจัดทำเอกสารในระบบคุณภาพ เทคนิควิชาการที่จำเป็น เตรียมสถานที่ เครื่องมือ การทดสอบความใช้ของวิธี การหาค่าความไม่แน่นอนในการวัด มีการควบคุณภาพการทดสอบทั้งภายในและภายนอก จัดการตรวจติดตามคุณภาพภายใน และจัดประชุมเพื่อทบทวนการบริหารระบบคุณภาพ ได้รวบรวมเอกสารทั้งหมดยื่นขอการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบต่อสำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ (สมป.) กรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2552 โดยตรวจประเมิน 2 ครั้ง ได้แก่ การตรวจประเมินเบื้องต้น และประเมินจริง ห้องปฏิบัติการผ่านการประเมินและได้รับการรับรอง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2553 ลำดับการรับรองที่ 1192/53 อายุการรับรอง 3 ปี ในขอบข่ายวิธีทดสอบการวิเคราะห์สารตกค้างในลำไยสดส่งออกในกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส5 ชนิดได้แก่ diazinon, pirimiphos – methyl, malathion, chlorpyrifos และethion การได้รับรองเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับงานบริการของกรมวิชาการเกษตรในส่วนภูมิภาค และเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าในผลการทดสอบด้านสารพิษตกค้างในลำไยสดส่งออก ในปี 2552-53 ห้องปฏิบัติการ กพป. สวพ.1 ได้ออกใบรับรองให้ลูกค้าส่งออกจำนวน 127 ตัวอย่าง ในรายการที่ขอรับรองพบ chlorpyrifos มากที่สุด จำนวน 86 ตัวอย่าง ปริมาณที่พบอยู่ในช่วง 0.01 - 0.54mg/kg