บทคัดย่องานวิจัย

ผลของไคโตซานต่อคุณภาพบางประการและปริมาณแคปซิคัมโอเลโอเรซินของพริกระหว่างการเก็บรักษา

สิริวัฒน์ บุญชัยศรี และ อัมพิกา ศรีใจวงศ์

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 (3 พิเศษ): 224-227. 2554.

2554

บทคัดย่อ

ผลของไคโตซานต่อคุณภาพบางประการและปริมาณแคปซิคัมโอเลโอเรซินของพริกระหว่างการเก็บรักษา

สารเคลือบผิวจากธรรมชาติคือ “ไคโตซาน”ช่วยรักษาคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของพริกขี้หนูสดพันธุ์สร้อยสน โดยการเคลือบผลพริกในระยะผลแก่สีเขียวที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.5 1.5และ 2.5 ในตัวทำละลาย 3 ชนิดๆ ละ 1.5% acetic acid citric acid และ ascorbic acid แล้วเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง (25-32 oC) เป็นเวลา 12 วันที่ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 80-85 พบว่าการเคลือบผิวสามารถชะลอการเปลี่ยนสีของผิวพริก และลดการสูญเสียน้ำหนักได้ดีกว่าพริกที่ไม่เคลือบผิว(ชุดควบคุม)แต่มีเพียงชุดที่ใช้ citric acid เป็นตัวทำละลายที่สามารถลดการเกิดโรคได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่าการเคลือบผิวพริกด้วยไคโตซานมิได้ทำให้การยอมรับโดยผู้บริโภคเปลี่ยนไป อีกทั้งทำให้ผู้บริโภครู้สึกเผ็ดร้อนมากขึ้นโดยเฉพาะผลพริกที่เคลือบด้วยไคโตซานใน citric acidการวัดปริมาณสารเผ็ดร้อนซึ่งกระทำโดยวัดค่าดูดกลืนแสงของสารสกัด capsicum oleoresinที่ความยาวคลื่น 285 nm(A285)แสดงให้เห็นว่าปริมาณสารเผ็ดร้อนในพริกมีแนวโน้มสูงขึ้นตามความเข้มข้นของไคโตซานหากใช้ citric acid และ ascorbic acidเป็นตัวทำละลาย  ดังนั้นในการทดลองนี้การเคลือบผิวด้วยไคโตซานเข้มข้นร้อยละ 2.5โดยใช้ citric acid เป็นตัวทำละลายเหมาะสมที่สุดในการเคลือบผิวพริกเพื่อรักษาคุณภาพและอาจช่วยยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยว ณ อุณหภูมิห้อง