บทคัดย่องานวิจัย

ผลของไคโตซานต่อเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้

นิภาดา ประสมทอง มาระตรี เปลี่ยนศิริชัย ประภัสสร บุษหมั่น วรภัทร ลัคนทินวงศ์ พิทักษ์ สิงห์ทองลา และมงคล วงศ์สวัสดิ์

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 (3 พิเศษ): 228-231. 2554.

2554

บทคัดย่อ

ผลของไคโตซานต่อเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides Penz. สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของผลมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้

มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้เป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย แต่มักมีปัญหาโรคแอนแทรคโนสจากเชื้อรา  Colletotrichum gloeosporioides  การควบคุมโดยใช้สารเคมีทำให้เกิดพิษตกค้าง งานวิจัยนี้ใช้ ไคโตซานความเข้มข้น 0.1, 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0% เปรียบเทียบกับ Benomyl ความเข้มข้น750 ppm(0.075%) และน้ำกลั่นปลอดเชื้อ โดยผสมกับอาหาร Potato Dextrose Agar (PDA) ทดสอบกับเชื้อรา C. gloeosporioides ในห้องปฏิบัติการด้วยวิธีPoisoned food technique โดยนำ mycelial disc ของเชื้อรา C. gloeosporioides อายุ 7วัน มาวางบนอาหารPDA ที่ผสมไคโตซานดังกล่าว โดยวางตรงตำแหน่งจุดศูนย์กลางของจานอาหารเลี้ยงเชื้อ บ่มเชื้อไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส บันทึกการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อรา C. gloeosporioidesด้วยการวัดเส้นใยที่เจริญเป็นเวลา 7 วัน พบว่าไคโตซานความเข้มข้น 2.0%ยับยั้งการเจริญของเส้นใยได้ 80.4 % การใช้ Benomyl และน้ำกลั่นปลอดเชื้อยับยั้งได้ที่ 100.0% และ 0.0%ตามลำดับ