ลักษณะสปอร์ของเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสพริก
โชติรส รอดเกตุ รัติยา พงศ์พิสุทธา และชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 (3 พิเศษ): 331-334. 2554.
2554
บทคัดย่อ
โรคแอนแทรคโนสเป็นโรคที่สำคัญของพริกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตร้อนและใกล้เขตร้อน เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides เป็นเชื้อสาเหตุที่สำคัญสปีชีส์หนึ่งและมีความผันแปรค่อนข้างสูง ดังนั้นการจำแนกและการแยกความแตกต่างโดยอาศัยลักษณะรูปร่างของสปอร์มักสร้างความสับสนมาโดยตลอด งานวิจัยนี้ได้ศึกษาเชื้อรา C. gloeosporioides จำนวน 59 ไอโซเลต ซึ่งเก็บจากแปลงพริก 14จังหวัด นำมาเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอด้วยเทคนิค polymerase chain reaction (PCR)โดยใช้ไพรเมอร์ที่จำเพาะต่อเชื้อรา C. gloeosporioides คือ CgInt (5’-GGCCTCCCGCCTCCGGGCGG-3’) ร่วมกับ universal primerITS4 (5’-TCCTCCGCTTATTGATATGC-3’) ผลจากปฏิกิริยาได้แถบดีเอ็นเอตรงบริเวณ ITS1-5.8s-ITS2 ขนาดประมาณ 450 คู่เบส เมื่อศึกษารูปร่างของสปอร์ใต้กล้องจุลทรรศน์ซึ่งเลี้ยงบนอาหาร potato dextrose agar (PDA)พบว่าเชื้อราC. gloeosporioidesสร้างสปอร์ 1 เซลล์ ไม่มีสี ฐานตัด แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1สปอร์มีรูปร่างตรง ทรงกระบอก ปลายมน ขนาด 2.75 - 3.38×10.38 – 13.13µm (41 ไอโซเลท) กลุ่มที่ 2สปอร์มีรูปร่างตรง ทรงกระบอกกว้าง ปลายมน ขนาด3.00 - 3.88 × 11.50 - 13.38 µm (16 ไอโซเลท) กลุ่มที่ 3สปอร์มีรูปร่างตรง ทรงกระบอกกว้างสั้นไปจนถึงรูปไข่ ปลายมน ขนาดสปอร์ 2.63× 8.63µm(1 ไอโซเลท) และ กลุ่มที่ 4สปอร์มีรูปร่างตรง พบทั้งปลายมนเล็กน้อยไปจนถึงปลายเรียว ขนาดสปอร์3.00× 11.63µm(1 ไอโซเลท)