การใช้ Near-Infrared spectroscopy เพื่อทำนายคุณลักษณะของข้าวเปลือก
นิธิภัทร บุญปก ดีเรนดรานาท ซิงค์ และ โมโตยะซึ นะซึกะ
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 (3 พิเศษ): 355-358. 2554.
2554
บทคัดย่อ
Near-Infrared(NIR) spectroscopyเป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถใช้วัดองค์ประกอบของวัสดุทางชีวภาพได้ การใช้คลื่นแสง NIR ร่วมกับสมการหลายตัวแปรสามารถทำนายลักษณะทางเคมีและชีวภาพของตัวอย่างวัสดุได้ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อสร้างสมการสำหรับทำนายปริมาณโปรตีนและความชื้นของข้าวเปลือก โดยทำการวัดค่าโปรตีนและความชื้นของข้าวเปลือก 33ตัวอย่าง ที่อุณหภูมิ 4ºC และอุณหภูมิห้อง (25 – 27 ºC) โดยใช้คลื่นแสง NIR ที่ความยาว 730-1100 nmที่กำเนิดจากเครื่อง AG-RD spectrometerที่ความถี่ช่องละ 0.5 nm ทำการเปรียบเทียบค่าโปรตีนและความชื้นในตัวอย่างข้าวเปลือกกับค่าที่อ่านได้จากโปรแกรม Unscrambler 9.8 Software (CAMO Software Japan Co. Ltd)ซึ่งให้ผลค่อนข้างดี (ค่า SECV และ R2 ของโปรตีน = 0.77, 0.96 และสำหรับ SECV และ R2 ของความชื้นในเมล็ด = 0.43, 0.77ตามลำดับ) ความชื้นของเมล็ดและค่าต่างๆ ที่อ่านได้ให้ผลไม่แตกต่างกัน (ที่อุณหภูมิ 4ºCมีค่า SECV= 0.89 และ R2=0.93 และสำหรับที่อุณหภูมิห้องมีค่า SECV = 0.77 และ R2=0.96)เมื่อทำการคัดเลือกความถี่ที่ดีที่สุดเพื่อให้ได้ค่า R2ที่สูงขึ้น พบว่าสามารถเพิ่มค่า R2 ได้เล็กน้อย โดยมีค่า SECV และ R2 ของโปรตีน = 0.35 และ 0.83 และมีค่า SECV และ R2 ของความชื้นในเมล็ด = 0.94 และ 0.94 ตามลำดับ อย่างไรก็ดีเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทำนาย ควรทำการปรับสภาพตัวอย่างก่อนการวัด เพื่อให้ได้ผลการทดลองที่ดีที่สุด