บทคัดย่องานวิจัย

การศึกษาและพัฒนาถ่านอัดแท่งจากวัสดุเกษตร

จุฬารัตน์ ชาวกำแพง และสมโภชน์ สุดาจันทร์

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 (3 พิเศษ): 481-484. 2554.

2554

บทคัดย่อ

การศึกษาและพัฒนาถ่านอัดแท่งจากวัสดุเกษตร

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาถ่านอัดแท่งจากวัสดุเกษตร เครื่องผลิตถ่านอัดแท่งต้นแบบที่ใช้ในการทดสอบมีส่วนประกอบได้แก่ ถังผสม เกลียวลำเลียง ถังป้อน  ชุดเกลียวอัด ชุดส่งกำลัง และโครงหลัก ได้ดำเนินการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและทางความร้อนของถ่าน และปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะการทำงานของเครื่องซึ่งได้แก่ชนิดผงถ่าน (ผงถ่านเหง้ามันสำปะหลัง ผงถ่านไม้รวม และผงถ่านกะลามะพร้าว)  และความเร็วเกลียวอัด (115 130 และ 145 rpm) ผลการศึกษาพบว่า ถ่านอัดแท่งมีความยาว เส้นผ่านศูนย์กลางนอก และเส้นผ่านศูนย์กลางในอยู่ที่ 15.01±1.62cm,4.12±0.05 cm และ 1.23±0.12 cmตามลำดับ และความชื้นเฉลี่ย 7.13 %(d.b.)โดยเดินเครื่องผลิตถ่านอัดแท่งที่อัตราการป้อน 140 kg/hความเร็วเกลียวอัด 145rpmใช้ส่วนผสมไม้รวม ผงถ่านกะลามะพร้าว แป้งมันสำปะหลัง และน้ำในสัดส่วน 1: 1: 0.15: 1 โดยน้ำหนัก ได้ความสามารถในการทำงานของเครื่องเฉลี่ย 131.5 kg/h พลังงานที่ใช้ 2107-2147 W พลังงานจำเพาะที่ใช้เฉลี่ย 16.16 W-h/kg. ถ่านอัดแท่งมีคุณสมบัติทางกายและทางความร้อนที่เหมาะสม