บทคัดย่องานวิจัย

ผลของการให้ความร้อนแบบไดอิเล็คตริกต่อปริมาณและสมบัติทางกายภาพของน้ำมันจากเมล็ดงาขี้ม้อน

ปกรณ์ สุวรรณโสภณ วิบูลย์ ช่างเรือ สงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์ และ เพ็ญศิริ ศรีบุรี

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 42 (3 พิเศษ): 761-764. 2554.

2554

บทคัดย่อ

ผลของการให้ความร้อนแบบไดอิเล็คตริกต่อปริมาณและสมบัติทางกายภาพของน้ำมันจากเมล็ดงาขี้ม้อน

การศึกษาการใช้ความร้อน ในการอบแห้งเมล็ดงาขี้ม้อนที่อุณหภูมิ 40 50 และ 60oC โดยเปรียบเทียบวิธีการอบแห้ง 2 วิธี คือ การใช้ตู้อบลมร้อน (HA)และการให้ความร้อนแบบไดอิเล็คตริกโดยใช้เตาอบไมโครเวฟ (MW)ที่มีผลต่อสมบัติทางกายภาพของเมล็ดงาขี้ม้อนและสมบัติทางกายภาพของน้ำมันที่สกัดได้ ผลการศึกษาพบว่า การทำแห้งด้วย MW ที่อุณหภูมิ 60oC (MW 60oC) ให้ปริมาณน้ำมันมากที่สุดตามด้วย HA 60, MW 50, MW 40, HA 50 และ HA 40oC โดยมีปริมาณน้ำมันน้ำมัน 24.3, 23.7, 23.6, 22.5, 21.6 และ 21.1%ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงสีของเมล็ดงาขี้ม้อน พบว่า การทำแห้งด้วย MW 60oC ให้ค่าความแตกต่างของค่าสี (∆E) น้อยที่สุดและการทำแห้งด้วยอากาศร้อน HA ที่อุณหภูมิ 50oC ให้ค่า ∆E มากที่สุด การเปลี่ยนแปลงสีของน้ำมันงาขี้ม้อน พบว่า HA 50oC มีค่า ∆Eใกล้เคียงกับกลุ่มควบคุมมากที่สุด ผลของความหนืดน้ำมัน พบว่า การอบแห้งด้วย HA 40oC ทำให้น้ำมันมีความหนืดมากที่สุดคือ 58cPและ MW 40oC มีความหนืดน้อยที่สุดคือ 51.67 cP ผลของความถ่วงจำเพาะของน้ำมันโดย Mw 50oC มีค่าความถ่วงจำเพาะสูงสุดคือ 0.92 และ MW 60oC มีค่าน้อยสุดคือ 0.89 นอกจากนั้นผลการเก็บข้อมูลการทำแห้งแล้วจัดทำกราฟ drying curve พบว่า MW 60oC ให้อัตราการลดความชื้นสูงสุดและ HA 40oC ให้อัตราการลดความชื้นต่ำสุด  ค่าความชื้นสุดท้ายและค่า water activityทุกการทดลองให้ผลที่ไม่แตกต่างกัน