บทคัดย่องานวิจัย

การเปลี่ยนแปลงสารประกอบฟีนอลในผลพริกระหว่างการเข้าทำลายของเชื้อรา Colletotrichum capsiciและ Colletotrichum gloesporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสและการเกิดโรค

สมศิริ แสงโชติและ สวิตา สุวรรณรัตน์

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 43 (3พิเศษ):494-497. 2555.

2555

บทคัดย่อ

การเปลี่ยนแปลงสารประกอบฟีนอลในผลพริกระหว่างการเข้าทำลายของเชื้อรา Colletotrichum capsiciและ Colletotrichum gloesporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสและการเกิดโรค

การศึกษาการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารประกอบฟีนอลทั้งหมด ในผลพริกพันธุ์บางช้างระหว่างการเข้าทำลายของเชื้อรา C.capsici และ C.gloeosporioides ในระยะผลสีเขียวและผลสีแดง พบว่าที่ 24 ชั่วโมงหลังจากปลูกเชื้อรา C.capsiciและ C.gloeosporioidesบนพริกสีเขียว พบการติดเชื้อเท่ากับ 96 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ปริมาณสารประกอบฟีนอลเพิ่มขึ้นจากชุดที่ไม่ได้ปลูกเชื้อเท่ากับ 0.102และ 0.408 mgGAE/gFW ตามลำดับที่ 48 ชั่วโมงหลังปลูกเชื้อรา พบการติดเชื้อทั้งสองชนิดเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ การเปลี่ยนแปลงของสารประกอบฟีนอลเท่ากับ 0.149 และ 0.019 mgGAE/gFW ตามลำดับ โดยพบอาการของโรคบนผลหลังจากปลูกเชื้อรา C.gloeosporioides120 ชั่วโมง แต่ไม่พบอาการของเชื้อรา C.capsiciและในผลพริกสีแดงที่ 24 ชั่วโมงหลังปลูกเชื้อรา C.capsiciและ C.gloeosporioidesพบการติดเชื้อเท่ากับ 75 และ 87.5 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ปริมาณสารประกอบฟีนอลเพิ่มขึ้นในบริเวณผลพริกที่ปลูกเชื้อราC.gloeosporioides  เท่ากับ 0.493 mgGAE/gFWแต่พริกที่ปลูกเชื้อราC.capsiciปริมาณสารประกอบลดลงจากชุดควบคุมเท่ากับ 0.278 mgGAE/gFW ที่ 48 ชั่วโมงหลังปลูกเชื้อรา การติดเชื้อเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณสารประกอบฟีนอลในผลพริกแดงที่ปลูกเชื้อราC.capsiciและ C.gloeosporioidesลดลงจากชุดควบคุม 0.088 และ 0.107 mgGAE/gFW ตามลำดับ โดยผลที่ปลูกเชื้อรา C.capsiciและC.gloeosporioidesแสดงอาการหลังปลูกเชื้อ 120ชั่วโมง