ผลของเอทีฟอน6-เบนซิลอะมิโนพิวรีนเมทิลแจสโมเนทและกรดซาลิไซลิก ต่อเอนไซม์ที่สลายคลอโรฟิลล์ในส่วนตัดกลมของใบคะน้า (Brassica oleracea var. alboglabra)
ภัทษร สำเนียงดีศิริชัย กัลยาณรัตน์และ พนิดา บุญฤทธิ์ธงไชย
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 43 (3พิเศษ):568-571. 2555.
2555
บทคัดย่อ
เอทีฟอน6-เบนซิลอะมิโนพิวรีน (6-BAP) เมทิลแจสโมเนท(MeJA) และกรดซาลิไซลิก (SA) เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและชีวเคมีของพืช ในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลของการใช้เอทีฟอน 6-BAP MeJA และSAต่อการเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยวของใบคะน้า(Brassica oleracea var. alboglabra) โดยนำใบคะน้าที่ตัดเป็นวงกลมมาจุ่มในสารละลายที่มีเอทีฟอน 6-BAP MeJA หรือSAแล้วนำไปเก็บรักษาในที่มืดที่อุณหภูมิ 20°Cความชื้นสัมพัทธ์75% จากผลการทดลองพบว่าใบคะน้าที่ได้รับเอทีฟอนความเข้มข้น10 ppm หรือMeJA ความเข้มข้น1 mMมีค่า hueเพิ่มขึ้นมากกว่าชุดควบคุมในระหว่างการเก็บรักษา ในขณะที่ใบคะน้าที่ได้รับ 6-BAP ความเข้มข้น100 ppm หรือSA ความเข้มข้น0.1 mMมีค่า hueเปลี่ยนแปลงน้อยกว่าชุดควบคุม นอกจากนี้ การได้รับ6-BAP ความเข้มข้น100 ppm หรือSA ความเข้มข้น0.1 mM สามารถชะลอการสูญเสียคลอโรฟิลล์ โดยไปลดกิจกรรมของเอนไซม์ chlorophyllase และMg-dechelatase ในทางตรงกันข้ามการได้รับเอทีฟอนความเข้มข้น10 ppm หรือMeJA ความเข้มข้น1 mM ไปเร่งการสลายของคลอโรฟิลล์โดยเพิ่มกิจกรรมของเอนไซม์ chlorophyllase และMg-dechelatase