การกระตุ้นความต้านทานในผลมะม่วงหลังการเก็บเกี่ยวโดยใช้สารเคมีที่จัดอยู่ในกลุ่มปลอดภัยที่มีต่อโรคแอนแทรคโนส
วีรภรณ์ เดชนำบัญชาชัย และ สมศิริ แสงโชติ
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 44 (3พิเศษ): 14-17. 2556.
2556
บทคัดย่อ
ทดสอบประสิทธิภาพสารปลอดภัย(GRAS) ในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสของสาร 3ชนิด คือ propyl paraben, salicylic acid และ oxalic acid ที่ความเข้มข้น 5ระดับคือ 100, 250, 500, 750 และ 1,000mg/l พบว่าสารทั้ง 4ชนิด มีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเชื้อราColletotrichum gloeosporioidesแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดย propyl paraben ความเข้มข้น 250, 500, 750และ 1,000mg/lสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราC. gloeosporioidesของมะม่วงได้ 100%เท่ากับImazalil ที่ความเข้มข้น 100, 250 และ 500 mg/lรองลงมาคือ salicylic acid ความเข้มข้น 1,000mg/lและpropyl paraben ความเข้มข้น 100 mg/lสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของของเส้นใยเชื้อรา C. gloeosporioidesของมะม่วงได้ 44.2และ 40.7% ตามลำดับ เมื่อนำสารในกลุ่มนี้มาควบคุมโรคแอนแทรคโนสบนผลมะม่วงโดยการปลูกเชื้อC. gloeosporioidesความเข้มข้น 106 โคนีเดีย/ml ก่อนและหลัง 24 ชั่วโมง แล้วบ่มเชื้อไว้ที่ 25ºcเป็นเวลา 24ชั่วโมง หลังการได้รับสาร พบว่าการจุ่มสาร Imazalil ความเข้มข้น 250 mg/lก่อนปลูกเชื้อมีความรุนแรงของโรคน้อยที่สุดคือ 6.0% รองลงมาคือ oxalic acid 100 mg/l และsalicylic acid 250mg/l มีความรุนแรงของโรค 6.1และ 10.5% ตามลำดับและเมื่อจุ่มสารในกลุ่มนี้หลังการปลูกเชื้อC. gloeosporioidesพบว่าสารpropyl paraben 250mg/l มีความรุนแรงของโรคน้อยที่สุดคือ 4.9%รองลงมาคือ Imazali250mg/l และ propyl paraben 250mg/l มีความรุนแรงของโรค 5.5และ 5.7%ตามลำดับ