บทคัดย่องานวิจัย

ประสิทธิภาพของสารโซเดียมไดคลอโรไอโซไซยานูเรทต่อการลดปริมาณจุลินทรีย์ในน้ำยาปักแจกันและปรับปรุงคุณภาพกุหลาบตัดดอกพันธุ์ Grand Gala

กาญจนา วรราษฎร์ กฤษณ์ สงวนพวก เฉลิมชัย วงษ์อารี และ มัณฑนา บัวหนอง

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 44 (3พิเศษ): 133-137. 2556.

2556

บทคัดย่อ

ประสิทธิภาพของสารโซเดียมไดคลอโรไอโซไซยานูเรทต่อการลดปริมาณจุลินทรีย์ในน้ำยาปักแจกันและปรับปรุงคุณภาพกุหลาบตัดดอกพันธุ์ Grand Gala

จากการศึกษาการ pulsing ดอกกุหลาบพันธุ์ Grand Gala ด้วยสารโซเดียมไดคลอโรไอโซไซยานูเรท(DICA) ที่ความเข้มข้น 50 ppmนาน 6 ชั่วโมง แล้วย้ายมาปักในน้ำกลั่นตลอดระยะเวลาการทดลอง เปรียบเทียบกับการholdingดอกกุหลาบในสารละลาย DICA ที่ความเข้มข้น 50 ppmและน้ำกลั่น (ชุดควบคุม) ตลอดระยะเวลาการปักแจกัน พบว่า การ holding ดอกกุหลาบในสารละลาย DICA สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ในน้ำปักแจกันได้ดีที่สุด ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณจุลินทรีย์ในท่อลำเลียงในวันที่ 0 และ 5ของการปักแจกันโดยกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด (Scanning ElectronMicroscope; SEM) ที่พบว่า ดอกกุหลาบที่ทำการ holding ในสารละลาย DICA ไม่พบการเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ภายในท่อลำเลียงในขณะที่ดอกกุหลาบที่ทำการ pulsing ด้วยสารละลาย DICAและชุดควบคุม (น้ำกลั่น) มีการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ภายในท่อลำเลียงเพิ่มขึ้นนอกจากนั้น ดอกกุหลาบที่ทำการ holding ในสารละลาย DICAช่วยชะลอการผลิตเอทิลีน และมีอายุการปักแจกันนานที่สุด เท่ากับ 6.1 วันเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม (น้ำกลั่น)และดอกกุหลาบที่ทำการ pulsing ในสารละลาย ซึ่งมีอายุการปักแจกัน เท่ากับ 4.5 วัน 4.6 วันตามลำดับ อย่างไรก็ตาม วิธีการ holding และ pulsing ไม่มีผลต่ออัตราการดูดน้ำ  การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักสด