บทคัดย่องานวิจัย

ผลของวัสดุประสานต่อคุณภาพการพอกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน

นุชฉรา สมรัตน์ ชมนาด สวาสดิ์มิตร และสงวนศักดิ์ ธนาพรพูนพงษ์

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45 (3/1 พิเศษ): 61-64. 2557.

2557

บทคัดย่อ

ผลของวัสดุประสานต่อคุณภาพการพอกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน

ศึกษาระดับความเข้มข้นของวัสดุประสานชนิดต่างๆที่มีผลต่อคุณภาพการพอกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวานวางแผนการทดลองแบบ CRD จำนวน 3ซ้ำ โดยใช้วัสดุประสาน 3ชนิด ที่ระดับความเข้มข้นต่างๆ ได้แก่ คาร์ราจีแนน ความเข้มข้น 0.1, 0.2 และ 0.3% น้ำหนักโดยปริมาตร (w/v)เจลาติน ความเข้มข้น 1, 2 และ 3% (w/v)และ กัมอะราบิก ความเข้มข้น 0.01, 0.03 และ 0.05% (w/v)ตามลำดับ โดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้พอก และเมล็ดพันธุ์ที่พอกด้วย พอลิอะคริลาไมด์ 5% (w/v)เป็นชุดควบคุม1 และ 2ตามลำดับ ทดสอบความงอกด้วยวิธีมาตรฐาน การวัดดัชนีการงอก การวัดอัตราการเจริญเติบโตของยอดและราก การวัดอัตราการเจริญเติบโตของต้นกล้า และการจำแนกความแข็งแรงของต้นกล้า พบว่า เมล็ดพันธุ์ที่ใช้กัมอะราบิกที่ระดับความเข้มข้น 0.01, 0.03 และ 0.05% (w/v)เป็นวัสดุประสาน มีดัชนีการงอกของเมล็ดพันธุ์สูงกว่าชุดควบคุม มีเปอร์เซ็นต์ความงอก และสัดส่วนของต้นกล้าที่มีความแข็งแรงมาก เทียบเท่าชุดควบคุม นอกจากนี้ ที่ระดับความเข้มข้น 0.01% (w/v)มีอัตราการเจริญเติบโตของยอดสูงกว่าทุกกรรมวิธี และที่ระดับความเข้มข้น 0.05% (w/v)มีอัตราการเจริญเติบโตของต้นกล้า สูงกว่าชุดควบคุม ดังนั้นชนิดและความเข้มข้นของวัสดุประสานที่เหมาะสมต่อการพอกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดหวาน คือ กัมอะราบิกที่ระดับความเข้มข้น 0.01% (w/v)