ผลของสารละลายไคโทซานต่อการยับยั้งจุลินทรีย์ Escherichia coli และ Salmonella sp.
จุฑาทิพย์ โพธิ์อุบล พนิดา บุญฤทธิ์ธงไชย และ พริมา พิริยางกูร
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45 (3/1 พิเศษ): 69-72. 2557.
2557
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันมีความต้องการในการบริโภคผักและผลไม้สดเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินอาหารที่มีรายงานว่าจุลินทรีย์สาเหตุโรคระบบทางเดินอาหารซึ่งตรวจพบมากในผักและผลไม้สด คือ Escherichia coli และ Salmonella sp. ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาผลของการใช้สารละลายโคโทซานที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 0 (control), 0.5,1.0และ 1.5 ต่อการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ Escherichia coli และ Salmonella sp. (in vitro study) โดยเตรียม cocktail suspension ของจุลินทรีย์ที่ความเข้มข้น 105 CFU/mlจากนั้นเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์แต่ละสายพันธุ์โดยเกลี่ย cocktail suspension ของจุลินทรีย์ลงบนผิวหน้าอาหารเลี้ยงเชื้อ Eosin Methylene Blue agar และ Xylose Lysine Deoxycholate agar ตามลำดับ แล้ววางไว้ให้ผิวหน้าอาหารเลี้ยงเชื้อแห้ง จากนั้นหยดสารละลายไคโทซานที่ความเข้มข้นต่างๆ ปริมาตร 10 ไมโครลิตร ลงบน filter paper discซึ่งวางอยู่บนผิวหน้าของอาหารเลี้ยงเชื้อ นำจานอาหารเลี้ยงเชื้อไปบ่มที่อุณหภูมิ 35+2 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48+3 ชั่วโมง ตรวจวัดความสามารถในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์โดยวัดขนาดของวงใส (inhibition zone)รอบแผ่น filter paper discผลการทดลองพบว่าการใช้สารละลายไคโทซานที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 0.5สามารถยับยั้งการเจริญของ Escherichia coli และ Salmonella sp.ได้ดีที่สุด รองลงมาคือการใช้สารละลายไคโทซานที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 1.0, 1.5 และ 0 ตามลำดับ โดยมีขนาดของ inhibition diameter ในการยับยั้ง Escherichia coliเท่ากับ 10.11, 7.41, 3.24 และ 0 มิลลิเมตร ตามลำดับ ในขณะที่มีขนาดของ inhibition diameter ในการยับยั้ง Salmonella sp.เท่ากับ 4.75, 3.25,2.0 และ 0 มิลลิเมตร ตามลำดับ