การพัฒนาผลฟักข้าวและการใช้สารเคลือบผิวหลังการเก็บเกี่ยว
นฐนรรค์ มีจั่นเพ็ชร์ ศิริชัย กัลยาณรัตน์ ผ่องเพ็ญ จิตอารีย์รัตน์ ธิติมา วงษ์ชีรี และ เฉลิมชัย วงษ์อารี
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45 (3/1 พิเศษ): 141-144. 2557.
2557
บทคัดย่อ
การศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมีของผลฟักข้าว (Momordica cochinchinensis Spreng) หลังติดผลพบว่าผลฟักข้าวใช้เวลา 9 สัปดาห์ในการพัฒนาจนถึงระยะสุกแดงเต็มที่ โดยสีเปลือกของผลฟักข้าวเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองในสัปดาห์ที่ 6-7 และสีส้มในสัปดาห์ที่ 8 และสีแดงในสัปดาห์ที่ 9ส่วนสีเนื้อผลเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลืองตามลำดับเมื่อผลเข้าสู่ระยะการสุก โดยเยื่อหุ้มเมล็ดเริ่มพัฒนาในสัปดาห์ที่ 6เยื่อหุ้มเมล็ดและเปลือกมีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระมีมากกว่าในส่วนของเนื้อ ซึ่งมีปริมาณเป็น 490.79,420.47 และ 229.52 mM Trolox/gFWของการพัฒนาผลในสัปดาห์ที่ 6เมื่อนำผลฟักข้าวระยะเปลือกสีเหลือง (6 สัปดาห์หลังดอกบาน) มาเคลือบด้วยchitosan และ sucrose fatty acid ester ที่ความเข้มข้น0.5, 1และ 1.5%แล้วมาเก็บรักษาที่ 10 oซความชื้นสัมพันธ์ 90-95% เปรียบเทียบกับผลที่ไม่ได้เคลือบผิว พบว่าผลฟักข้าวทุกชุดการทดลองมีการเปลี่ยนแปลงของด้านสารต้านอนุมูลอิสระ อัตราการหายใจ และอายุการเก็บรักษาไม่แตกต่างกันในระหว่างการเก็บนาน 16 วัน แต่การเคลือบด้วยchitosan และ sucrose fatty acid ester ทำให้เปลือกผลมีค่าความสว่าง (L*)เพิ่มขึ้นในช่วง 4วันแรกของการเก็บรักษาเมื่อเทียบกับชุดควบคุม และมีค่าความเข้มของสี (chroma)ผลที่เคลือบด้วย sucrose fatty acid ester ความเข้มข้น 1.5%เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับชุดควบคุม