บทคัดย่องานวิจัย

การหาสภาวะที่เหมาะสมของไคโทซานและกัมอะราบิกต่อการใช้เคลือบผิวเนื้อมะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 หั่นชิ้นพร้อมบริโภค

นันทา เป็งเนตร์ บุญส่ง แสงอ่อน และ พีระศักดิ์ ฉายประสาท

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45 (3/1 พิเศษ): 149-152. 2557.

2557

บทคัดย่อ

การหาสภาวะที่เหมาะสมของไคโทซานและกัมอะราบิกต่อการใช้เคลือบผิวเนื้อมะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 หั่นชิ้นพร้อมบริโภค

การหาสภาวะที่เหมาะสมด้วยวิธี response surface methodology (RSM) เพื่อใช้ทำนายและหาสภาวะที่เหมาะสมของสารเคลือบผิวไคโทซาน ความเข้มข้นร้อยละ 0.25-5.0 และกัมอะราบิก ความเข้มข้นร้อยละ 1.0-5.0 ต่อคุณภาพในระหว่างการเก็บรักษาของมะม่วงน้ำดอกไม้เบอร์ 4 หั่นชิ้นพร้อมบริโภคที่อุณหภูมิ 5Cโดยวางแผนการทดลองแบบ central composite design (CCD)มีค่าตอบสนองหรือตัวแปรตามที่นำมาศึกษาได้แก่ การสูญเสียน้ำหนัก ความแน่นเนื้อ ค่า L*, a*, b*, H,ค่าความเป็นกรด-ด่าง และปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรที่นำมาศึกษาให้ค่า regression coefficients (R2) ระหว่าง 0.489-0.929ความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารเคลือบผิวไคโทซานและกัมอะราบิกที่ได้จากค่าทำนายคือ ร้อยละ 0.49 และร้อยละ 4.69 ตามลำดับ ซึ่งเป็นสูตรที่เหมาะสมต่อการนำมาใช้เคลือบผิวมะม่วงน้ำดอกไม้หั่นชิ้นพร้อมบริโภค ค่าที่ได้จากสมการการทำนายเป็นดังนี้ การสูญเสียน้ำหนักร้อยละ 3.64 ความแน่นเนื้อเท่ากับ 0.023 kgfค่า L*เท่ากับ 29.30 a*เท่ากับ 9.75 b*เท่ากับ  28.40 Hเท่ากับ 66.00 ค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 3.40 และปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำได้ทั้งหมดเท่ากับ 11.10% คุณภาพทางด้านจุลินทรีย์พบปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมด1.20x103โคโลนีต่อกรัม ปริมาณยีสต์และราน้อยกว่า 100โคโลนีต่อกรัม และตรวจไม่พบ E.coliในตัวอย่างเนื้อมะม่วงหั่นชิ้นระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5Cเป็นเวลา 6วัน