ปฏิสัมพันธ์ของยีสต์ปฏิปักษ์ต่อเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides และ Lasiodiplodia theobromae
รัติยา พงศ์พิสุทธา ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล พัทยา จำปีเรือง วาสนา ทองปิ่น และ รณภพ บรรเจิดเชดชู
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45 (3/1 พิเศษ): 165-168. 2557.
2557
บทคัดย่อ
ทำการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีสต์ปฏิปักษ์กับเชื้อราสาเหตุโรคผลเน่ามะละกอ 2 คู่ ระหว่าง Pichia anomalaกับ Colletotrichum gloeosporioidesและ Saccharomycopsis fibuligeraกับLasiodiplodia theobromaeโดยการปลูกเชื้อลงบนผลมะละกอ เมื่อตรวจสอบโดยตรงโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าเซลล์ของยีสต์ปฏิปักษ์เกาะบนผิวของสปอร์และบนเส้นใยของเชื้อราสาเหตุโรค นอกจากนี้พบว่าบริเวณที่เซลล์ยีสต์เกาะมีลักษณะเป็นหลุม เมื่อศึกษากิจกรรมของเอนไซม์โดยเลี้ยงยีสต์ปฏิปักษ์ร่วมกับเชื้อราสาเหตุโรคในอาหารเหลวดัดแปลงสูตร Czapekที่ผสม peptone 5 กรัม และ beef extract 3 กรัม พบว่ายีสต์ปฏิปักษ์ทั้งสองชนิดสามารถผลิตเอนไซม์ไคติเนส ซึ่งมีคุณสมบัติในการย่อยสลายเส้นใยและสปอร์ของเชื้อราสาเหตุโรค จากผลงานนี้ทำให้เชื่อได้ว่ายีสต์ปฏิปักษ์ทั้งสองชนิดน่าจะนำมาใช้ในการควบคุมโรคผลเน่าของมะละกอโดยชีววิธีได้