บทคัดย่องานวิจัย

ผลของการฉีดพ่นทางใบด้วยสารละลายแคลเซียม โบรอนและสาหร่ายสกัดที่มีผลต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลทุเรียนพันธุ์หลงลับแล

ศิริวรรณ ตั้งจิตวิบูลย์กุล และ พีระศักดิ์ ฉายประสาท

วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45 (3/1 พิเศษ): 197-200. 2557.

2557

บทคัดย่อ

ผลของการฉีดพ่นทางใบด้วยสารละลายแคลเซียม โบรอนและสาหร่ายสกัดที่มีผลต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลทุเรียนพันธุ์หลงลับแล

วางแผนการทดลองแบบ 7 x 2 factorial in CRDประกอบด้วย 2 ปัจจัย ปัจจัยที่ 1 คือ ความเข้มข้นของสารละลาย (แคลเซียม 40% โบรอน 0.3% (Ca-B) และสาหร่ายสกัด 100% (algae)) 7 ระดับ (Ca-B 0.5 มล./ล., Ca-B 0.5 มล./ล.+algae 1 มล./ล., Ca-B 1มล./ล., Ca-B 1 มล./ล.+algae 1 มล./ล., Ca-B 2 มล./ล., Ca-B 2 มล./ล.+algae 1 มล./ล.และเปรียบเทียบกับชุดควบคุม) ฉีดพ่นทางใบทุเรียนพันธุ์หลงลับแลปริมาตร 10ลิตรต่อต้น จำนวน 6ครั้ง (ระยะไข่ปลา, มะเขือพวง, หัวกำไล, 40, 60 และ 80วัน หลังดอกบาน) ปัจจัยที่ 2 คือ อุณหภูมิที่เก็บรักษา 2 ระดับ (15 และ 30 องศาเซลเซียส) (ผลทุเรียนอายุ 105 วันหลังดอกบาน) พบว่าการฉีดพ่นทางใบด้วยสารละลายแคลเซียม-โบรอน 0.5มล./ล.ร่วมกับเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 15ซ สามารถเก็บรักษาผลทุเรียนได้นาน 21วัน เนื่องจากเนื้อทุเรียนมีปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ (29.47Brix)การเปลี่ยนแปลงค่าสีของเนื้อค่า chroma (49.47) ร้อยละของน้ำหนักแห้ง (41.51%)ร้อยละของการสูญเสียน้ำหนัก (38.25%) กลูโคส (1.63%)และซูโครส (13.43%)ซึ่งมีค่าน้อยกว่ากรรมวิธีอื่นและชุดควบคุม ส่วนการฉีดพ่นทางใบด้วยสารละลายแคลเซียม-โบรอน 0.5มล./ล. ผสมสาหร่ายสกัด 1 มล./ล. ร่วมกับการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 30ซ สามารถเก็บรักษาผลทุเรียนได้นาน 12วัน มีค่าความแน่นเนื้อเปลือก (0.23 Kg/cm2) และความแน่นเนื้อเนื้อ (0.11 Kg/cm2) มากกว่ากรรมวิธีอื่นและชุดควบคุมแต่ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ (30.60Brix) ฟรักโตส (0.48%) การเปลี่ยนแปลงค่าสีของเนื้อค่า chroma (50.53) มีค่าน้อยกว่ากรรมวิธีอื่นและชุดควบคุม