การตรวจสอบปริมาณไนเตรทในใบผักคะน้าที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหารโดยใช้เครื่องฟูเรียร์ทรานฟอร์มสเปกโทรสโกปีย่านใกล้อินฟราเรด (FT-NIR)
ระจิตร สุวพานิช และ นภณัฏฐ์ สะสมทรัพย์
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 45 (3/1 พิเศษ): 305-308. 2557.
2557
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์ปริมาณไนเตรทของใบผักคะน้าไฮโดรโปนิกส์แบบไม่ทำลาย โดยการใช้เครื่องฟูเรีนร์ทรานฟอร์มสเปกโทรสโกปีอินฟราเรดย่านใกล้ (FT-NIR)ใช้ตัวอย่างผักคะน้าที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหารจำนวน 300 ตัวอย่าง เพื่อสร้างสมการทำนายปริมาณไนเตรทของใบผักคะน้าไฮโดรโปนิกส์ และเปรียบเทียบความแม่นยำของเทคนิคการดูดกลืนแสงย่านใกล้อินฟราเรดกับวิธีวิเคราะห์ทางเคมี โดยสุ่มใบผักคะน้าไฮโดรโปนิกส์มาวัดค่าการส่องผ่านของแสงในช่วงคลื่นแสง4000-10000 cm-1 (1000-2500 nm)ด้วยเครื่อง FT-NIRจากการทดลองพบว่าไนเตรทมีค่าการดูดกลืนแสงมากที่สุดที่ความยาวคลื่น 885 nmเมื่อนำใบผักคะน้าไฮโดรโปนิกส์มาวิเคราะห์ปริมาณไนเตรทด้วยเทคนิค Brucine methodสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นด้วยเทคนิค Partial least square regression (PLSR) พบว่าสมการที่สร้างขึ้นเพื่อทำนายปริมาณไนเตรทมีจำนวนแฟคเตอร์ (F) เท่ากับ 1ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) เท่ากับ 0.9508ค่า RMSEP SEPและ ค่า Biasเท่ากับ 46.6146 ppm,44.83 และ 13.84 ตามลำดับจากผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าเทคนิคการดูดกลืนแสงย่านใกล้อินฟราเรด แบบ Reflectance modeมีความเป็นไปได้ที่จะนำมาใช้ในการทำนายค่าปริมาณไนเตรทในใบผักคะน้าไฮโดรโปนิกส์แบบไม่ทำลายได้อย่างแม่นยำ