ความหลากหลายทางชีวภาพของ Colletotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของพริกและการตอบสนองต่อสารเคมีป้องกันกําจัดเชื้อรา
รัติยา พงศ์พิสุทธา ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล สัณฐิติ บินคาเดอร์ ชุติมา นิ่มนวล ธัญญลักษณ์ ไทยแท้ นุชนารถ ศรีสุข และ ศุภนันท์ญา จันทร์ศรี
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 52 (2 พิเศษ): 57-60. 2564.
2564
บทคัดย่อ
นำเชื้อรา Colletotrichum capsici สาเหตุโรคแอนแทรคโนสพริก จำนวน 20 ไอโซเลท ซึ่งรวบรวมจาก 10 จังหวัด มาศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของเชื้อรา อาศัยลักษณะทางสรีรวิทยาและสัณฐานวิทยา แบ่งเชื้อราออกเป็น 7 กลุ่ม ทดสอบความสามารถในการเกิดโรคบนผลพริกพันธุ์บางช้าง วัดขนาดแผลจากอาการโรคแอนแทรคโนสบนผลพริกในวันที่ 5 หลังการปลูกเชื้อ พบพื้นที่การเกิดโรค เท่ากับ 36.84 – 63.41 % จากการทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมี 6 ชนิด ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้บ่อยในแปลงเพื่อควบคุมโรคแอนแทรคโนส ผลการทดลองพบว่าสารเคมี prochloraz, tebuconazole และ difenoconazole ที่อัตราแนะนำสามารถยับยั้งการเจริญของเส้นใยเชื้อราได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่สารเคมี azoxystrobin และ carbendazim สามารถควบคุมเชื้อราได้เพียงบางไอโซเลท นอกจากนี้ยังพบว่าสารเคมี mancozeb ไม่สามารถควบคุมเชื้อราทุกไอโซเลทได้ ดังนั้นความหลากหลายทางชีวภาพของเชื้อราเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เชื้อรามีการตอบสนองต่อสารเคมีที่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเกิดจากการกระตุ้นด้วยสารเคมีให้เกิดกลายพันธุ์ ที่เกิดจากการใช้สารเคมีชนิดเดิมในการควบคุมโรคแอนแทรคโนสในแปลงเป็นระยะเวลานาน